วันอาทิตย์, ธันวาคม 18, 2554

"ฟินแลนด์ไม่มีแขน" โดย ใบพัด

ปกติเป็นคนที่ไม่ซื้อหนังสือบ่อยนักเพราะหนังสือแต่ละเล่มที่อ่านจบแล้วจะไม่หยิบมาอ่านอีก นอกจากกรณีที่เวลาผ่านไปหลายปีแล้วหยิบมาอ่านอีกด้วยความสงสัยว่าเล่มนี้เคยอ่าน(จบ)หรือยัง ดังนั้นด้วยความงก จึงมองว่า"ไม่คุ้มค่า"หากต้องจ่ายเงินซื้อหนังสือราคานับร้อย ทางออกคือหยิบยืมเพื่อนอ่าน และยืมนานจนเพื่อนลืมทวงถ้าเป็นหนังสือที่ชอบจริงๆ(และอยากได้ไว้ในครอบครอง) ฮ่าฮ่า ชิ่งซะงั้น (นิสัยไม่ดีเลยเรา)


"ฟินแลนด์ไม่มีแขน" เป็นหนังสือที่หยิบมาอ่านเป็นครั้งที่สอง พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้ได้รับจากเพื่อนสนิทเป็นของขวัญวันเกิดก่อนการเดินทางท่องเที่ยวฟินแลนด์เป็นปีที่สอง (โชคดีที่ไม่ต้องซื้อเอง หรือชิ่งของเพื่อนให้เป็นที่ครหา) เนื่อหาอ่านแล้วเพลินจนไม่คิดว่าเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยว น่าจะเป็นแนวเล่าประสบการณ์ท่องเที่ยวฮาๆมากกว่า ครึ่งแรกเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เขียนขณะเดินทางกับคณะในอิตาลี่ ส่วนครึ่งหลังเป็นทริปฉายเดี่ยวในฟินแลนด์


ครั้งแรกที่อ่าน ชอบสำนวนการเขียนมากจนอ่านรวดเดียวจบ และก็แค่นั้น ไม่ได้เก็บมาคิดต่อ แต่จำต้องทิ้งไว้ให้ว่าที่สามีดูต่างหน้าในฟินแลนด์(ความจริงคือขากลับเมืองไทยกระเป๋าแน่นมว๊าก ไม่เหลือเนื้อที่ใส่หนังสือเลย ^^") โดยที่ไม่รู้ล่วงหน้าเลยว่ามันจะกลายเป็นหนังสือภาษาไทยหนึ่งในไม่กี่เล่มที่มีใว้ในครอบครองเมื่อต้องย้ายมาปักหลักในฟินแลนด์หลังแต่งงาน (มีค่าขึ้นมาเลยทีเดียว) และนี่คือเหตุผลที่มันถูกนำมาอ่านอีกครั้งในเวลาติสท์แตก คิดถึงบ้าน หรืออยากอ่านหนังสือภาษาบ้านเกิดเมืองนอนขึ้นมา เช่นนี้เอง


เมื่อนำมาอ่านอีกครั้ง ก็เกิดการรู้แจ้งขึ้นมากมายเพราะครั้งนี้ได้แชร์ประสบการณ์ตรงอย่างที่ผู้เขียนเล่าไว้หลายอย่าง เช่น คนฟินน์ภูมิใจในเรื่องป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากกว่าเรื่องความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี, ความเข้าใจผิดในชื่อ "มาริ เมกโกะ", ห้องน้ำหยอดเหรียญ, คนขายตั๋วและคนตรวจตั๋วบนรถสาธารณะ, สภาพอากาศตามฤดูกาลของฟินแลนด์ เป็นต้น และอีกหลายต่อหลายเรื่องที่เรายังไม่เคยรู้


ท้ายนี้ก็อยากแนะนำทั้งผู้ที่สนใจท่องเที่ยวหรือกำลังย้ายมาปักหลักที่ประเทศฟินแลนด์ดินแดนแห่งซานตาคลอสให้หามาอ่าน เนื้อหาอ่านแล้วเพลินดีค่ะ


Recommended!!!!

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 15, 2554

ชมการแสดงบัลเล่ต์ The Nutcracker and the Mouse King




Last night I was at the Finnish National Opera House with my little boy and my mother in law to watch the Nutcracker Ballet show. What a fantastic experience !!! Many thanks to Mikke's dad for the tickets. ^^


เมื่อวานนี้มีโอกาสเข้าชมการแสดงบัลเล่ต์เรื่อง The Nutcracker and the Mouse King กับลูกชายและคุณแม่ปรีโยะเป็นครั้งแรก โอ้โห อลังการมาก ทั้งฉาก วงดนตรีออเคสตร้า และนักแสดงบัลเล่ต์มืออาชีพ สวยและตื่นตาตื่นใจไปหมดทุกอย่าง ขอบคุณคุณพ่อสามีที่ให้บัตรชมเป็นของขวัญปีใหม่ล่วงหน้าค่าาาาา

The Nutcracker and the Mouse King เป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้รับตุ๊กตาทหารเป็นของขวัญคริสต์มาสและในคืนคริสต์มาสอีฟนั่นเองที่เด็กคนนี้หลับและฝันว่ามีราชาปีศาจหนูมาลักพาตัวไปและตุ๊กตาทหารได้มาช่วยและพาหลบหนีเดินทางผ่านหลายประเทศ ท้ายที่สุดก็ได้ต่อสู้จนราชาปีศาจหนูพ่ายแพ้ จากนั้นทั้งตุ๊กตาทหารและเด็กผู้หญิงได้กลายร่างเป็นเจ้าชายหล่อและเจ้าหญิงสวยเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน และแล้วเด็กน้อยก็ตื่นขึ้นมาพบว่าความฝันนั้นเกิดจากเวทย์มนต์ของวันคริสต์มาสนั่นเอง

ป.ล. ขอเม้าท์นิดนึงว่าทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เข้าชมการแสดงแต่งตัวหล่อสวยเต็มที่ ทั้งชุดเดรสและสูท มีเราสองคนแม่ลูกที่ใส่ยีนส์เข้างาน เลยขอเนียนทำตัวเป็นนักท่องเที่ยว เก็กๆเชิดๆไว้ก่อน เพื่อให้ดูบ้านนอกให้น้อยที่สุด ฮ่าฮ่าฮ่า

วันจันทร์, ธันวาคม 05, 2554

Here comes the snow ^^ หิมะแรกของชีวิต

ปลื้มใจที่ได้เห็น สัมผัสและได้เล่นหิมะเป็นครั้งแรกในชีวิต

Last night we saw snow for the 1st time and we loved it! It slowly fell down and covered the surface beautifully. So this morning we took "pulkka" and went sliding down a small snowy hill. We didn't mind being cold or wet bacause we had so much fun playing in snow (just had to make sure we wore enough clothes.) Since there has not been snowing much, today it starts melting already. But we hope there will be more coming this weekend. I'm lovin' snow!!! ^_____^






วันศุกร์, ธันวาคม 02, 2554

Gingerbread House บ้านขนมผิง

Went to IKEA Finland last week and bought a pack of IKEA gingerbread house... needing a little set up & decoration, then it will be ready for X'mas ^^

Hyvin pieni ja söpö piparkakkutalo (。♥‿♥。)



อาทิตย์ก่อนมีโอกาสไปเดินดูของที่โชว์รูม IKEA ของเมืองวันตา แล้วก็สอยเจ้ากล่องนี้มาเพื่อเตรียมตัวต้อนรับเทศกาลคริสมาสต์ที่กำลังจะมาเยือน สิ่งที่อยู่ในกล่องคือชิ้นส่วนต่างๆที่สามารถนำมาต่อประกบกันเป็นบ้านขนมผิงโดยใช้น้ำตาลหนืดเป็นกาวเหนียวเชื่อมชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อต่อโครงบ้านแล้วก็สามารถตกแต่งเพิ่มเติมได้ด้วยทอฟฟี่ ขนม น้ำตาลสี่ต่างๆ หรือหากต้องการเพิ่มสวน หรือองค์ประกอบอื่นๆบริเวณรอบๆบ้านก็สามารถวางต้นคริสมาสต์ขนาดจิ๋ว รถยนต์ของเล่น หรือรูปปั้นมินิอื่นๆได้เช่นกัน ผลที่ได้จึงออกมาเป็นเช่นนี้... สุขสันต์วันคริสมาสต์ค่าาา :)
 

 

9 hard languages for English speakers : มาดำน้ำเรียนภาษาฟินนิชกัน

มาต่อกันที่เก้าอันดับของภาษาที่ยากที่สุดสำหรับคนที่พูด-อ่าน-เขียนภาษาอังกฤษได้ซึ่งเคยเกริ่นไปแล้วว่าภาษาฟินนิชติดโผกะเค้าด้วย


ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับบทความนี้ส่วนที่พูดถึงภาษาฟินนิชว่า


1. ไม่มีรากศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษเลยจึงแทบไม่มีหลักให้จำ เช่น omena = apple (แอปเปิ้ล), appelsiini = orange (ส้ม), sipuli = onion (หัวหอม) เป็นต้น


2. คำกริยานอกจากจะผันตามประธานหกตัว (I, you, he/she/it, we, you(หลายคน), และ they)แล้วยังมี รูปกริยาบอกเวลา(Tense)มากำกับอีกที


3. ความแตกต่างที่สำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาฟินนิชคือ การเปลี่ยนหรือเติมท้ายคำนามให้สอดคล้องกับความหมายที่คล้ายกับคำบุพบท (Noun cases) เหตุเพราะภาษาฟินนิชไม่มีคำบุพบท(preposition) จึงต้องอาศัยการเปลี่ยนท้ายคำเพื่อบ่งบอกตำแหน่ง, แสดงความเป็นเจ้าของ, แสดงหน้าที่ของคำในประโยค, แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ, แสดงอารมณ์, และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งหมดสิบห้าหรือสิบหกแบบ ขอนำตัวอย่างจากบทความยกมาเขียนอธิบายดังนี้


Talotta หมายถึง “without a house, โดยปราศจาก/ไม่มี” เช่น On vaikeaa elää talotta. แปลว่า มันยากที่จะอยู่โดยไม่มีบ้าน


ในขณะที่ talolta หมายถึง “from a house, (ออก)จากบ้าน” เช่น Kiersin talolta toiselle. แปลว่า ฉันเดินทางจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลัง


ทั้งหมดนี้เป็นคำอธิบายแบบคร่าวๆเพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เรายังไม่สามารถนำมาอธิบายได้เพราะยังเรียนไปไม่มาก แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาแต่ละภาษาก็มีเอกลักษณ์และรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน การที่จะนำมาเปรียบเทียบกันคงไม่ยุติธรรม วิธีที่ดีที่สุดคือเปิดใจเรียนรู้ความแปลกใหม่, กระตือรือร้นและใช้เวลาเรียนรู้ ฝึกใช้ภาษาบ่อยๆโดยเฉพาะฝึกกับเจ้าของภาษา, พยายามดัดแปลงวิธีเรียนภาษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดให้เหมาะกับตัวเอง, และที่สำคัญอย่าเครียด อย่ากดดันตัวเอง เพราะถ้าไม่รู้สึกสนุกกับการเรียนแล้วพัฒนาการจะเป็นไปได้ยาก เคล็ดลับก็มีแค่นี้แหละ! (ว่าแล้วก็กลับไปดำน้ำเรียนภาษาฟินนิชต่อ ฮิ้วววววว)



ขอบคุณที่มาจาก (www.matadornetwork.com)

9 hard languages for English speakers

By On February 24, 2011 ·


Last week, we talked about some of the easiest languages for English speakers to learn. Round two: we take on the toughies.
WHILE THE EASIEST LANGUAGES for English speakers to learn have some syntactic common ground with English, the toughest ones are quite alien. Learners tackle writing systems, tonality, and grammatical systems so different, they can make an English-speaking head spin.
If you’re studying or have mastered one of these nine languages, Matador salutes you…and we want to learn your secrets.
1. Arabic
Arabic breaks down into families. One is the Modern Standard Arabic of print, media, and online content. The other is spoken Arabic, which encompasses many colloquial dialects which vary by region. This means that if you pick up conversational Arabic in Tunisia, it might still be tough to be understood in Kuwait.
For all dialects of Arabic, pronunciation is difficult for English speakers, as many consonants are formed at the back of the mouth.

Arabic script is a phonetic, 28-symbol alphabet descending from Phonecian. Most letters change shape depending on their position in the word, and letters may or may not be joined. The most basic challenge in tackling written Arabic is in reading from right to left, working against an English speaker’s deeply embedded instinct.
Arabic grammar has very few parallels with English and Indo-European languages. The plural is expressed by changing the vowel structure of the word: kitab (book) becomes kutub (books). The bulk of verbs are irregular and can be formed 25 ways. It’s a logical grammar system, but a complicated one too.
2. Basque
In a study conducted by the British Foreign Office, Basque was ranked as the hardest language to learn. Geographically surrounded by Romance languages, it is one of the only language isolates of Europe, with no syntactic parallels to English. The regional dialects are highly diverged, though a standardized Basque is used for media and academics.
Like many languages on this list, Basque is agglutinative, meaning that words are formed and modified with prefixes and suffixes. While “law” is lege in Basque, the phrase “according to the law” would be structured by suffixes as “legearen arabera.” Instead of prepositions, Basque uses cases endings to show the relationship between words, such as mendi (mountain) and mendira (to the mountain). It sounds simple, but with eleven cases, each taking four forms, the grammar is complex.
Basque is written in the Roman alphabet and pronunciation is fairly easy, even with new consonant sounds like tx or tz.
3. Cantonese
Cantonese is a tonal language, which can be hugely challenging for English speakers who are used to speaking with emphasis (“I didn’t eat YOUR sandwich!”) and inflection, rising tones to pose a question. Cantonese can be difficult even for those fluent in other Chinese dialects because of its tonal system. While Mandarin has four tones, Cantonese has eight, with pitch and contour shaping a syllable’s meaning.
Chinese has a logographic (pictoral) writing system of 5000+ characters. This gives a new hurtle to language learning, since a reader of Cantonese can’t sound out syllables in a text as we can with phonetic alphabets. They must know and recall the name of each character. It is a myth that all Chinese languages are written in the same logographic form, though Cantonese and Mandarin share many traits of their writing systems, and the Mandarin writing system is often used by Cantonese speakers.

4. Finnish

Barry Farber, the author of “How to Learn any Language” and a polyglot many times over, says that Finnish is one of the hardest languages for him to learn.

Finnish is in the Finno-Ugric language family, with Estonian and Hungarian. Without Germanic or Latin influence, Finnish vocabulary is completely alien to English speakers. Its grammar is also somewhat notorious. There are fifteen noun cases, sometimes with subtle differences. Talotta means “without a house,” while talolta means “from a house.” Tricky.


There are six verb types, classed by their stems. These stems alter as the verbs are conjugated. The language is agglutinative and verbs are conjugated with a succession of suffixes.

The good news? Finnish is written as it sounds (in the Roman alphabet!), and pronunciation is comfortable for English speakers. A common speaking problem lies in remembering single or double vowel sounds, as in tuli (fire) and tuuli (wind).
5. Hungarian
Though it uses the Roman alphabet for writing, don’t think that reading Hungarian will be a snap. Unique vowel sounds (á,é,ó,ö,ő,ú,ü,ű,í) and consonant clusters (ty, gy, ny, sz, zs, dzs, dz, ly, cs) make it difficult for English tongues to read and pronounce Hungarian.
Instead of articles, Hungarian conjugates verbs in one of two ways for definite and indefinite objects. Olvasok könyvet means “I read a book,” while Olvasom a könvyet is “I read the book.”
Because possession, tense, and number are indicated by suffixes, not word order in a sentence, Hungarian sentence structure is very loose and flexible. Sounds forgiving for a novice speaker, huh? The truth is that any sentence can take on several meanings if the suffixes are altered slightly. It’s a confusing system to learn.
6. Japanese
The good news about Japanese? For English speakers, pronunciation is a cinch. Japanese vowel and consonant sounds are very familiar to those fluent in English, which makes the language easy to parrot and understand.
The tough part? Written Japanese can be a headache to learn. It uses four alphabets including the Chinese-influenced kanji (pictoral), two phonetic writing systems, and the Roman alphabet (Romanji).
The notion of honorific language is challenging for learners. Japanese speech can vary with levels of politeness, with each level having set forms and rules. English has no set way of speaking honorifically or intimately, and learners may have trouble recalling when and where to use honorific speech.
Grammatically, Japanese is a mixed bag. There are only three irregular verbs and a pretty consistent structure, with verbs at the end of the sentence. Nouns carry no gender or number, though they can function as adjectives or adverbs, which can be confusing for readers.
Studying Japanese? Check out Matador’s 10 Essential Tips for Learning Japanese and 10 Extraordinarily Useful Japanese Phrases for Travelers.
7. Navajo
The Navajo language was famously used as a code by US forces in World War Two. In the Pacific battles, Japanese codebreakers cracked other allied dialects and coded language. They could never decipher Navajo.
Navajo is a verb-centred language. Even adjectives have no direct translation into Navajo; descriptions are given through verbs. It’s a prefix-heavy language, with 25 kinds of pronominal prefixes which can be stacked onto one another. This forms incredibly long phrases like chidí naaʼnaʼí beeʼeldǫǫhtsoh bikááʼ dah naaznilígíí which means “army tank.”
Another feature unique to Navajo is animacy, wherein nouns will take on certain verbs according to their rank in the hierarchy of animation. Humans and lightning are highest, children and big animals come next, and abstractions sit at the bottom. It’s a fascinating aspect of the language and culture, but a tough one to memorize and put into practice.
Though Navajo language learning materials may be hard to come by, Rosetta Stone offers a Navajo course, released in August 2010.
Photo: John Dyhouse
8. Mandarin
Written Mandarin is pictoral and contains over 20,000 characters. Some base characters, like root words, appear in other symbols, like (the character for “woman” forming part of “sister.” The written form of the language has no phonic connection to the spoken form.
Mandarin, like Cantonese, is a tonal language, and a misused inflection can change the meaning of a sentence. The syllable “ma” can mean mother or horse, depending on the inflection, which could lead to grave insults at the dinner table.
Grammatically, Mandarin is far simpler than Indo-European languages. Words, for the most part, have only one grammatical form. Their function is shown through prepositions, word order and particles. Building and comprehending this syntax, however, takes time. There are some tough elements like Mandarin adverbs: a dozen words which have.
9. Korean
At first, the language seems far easier than other East Asian tongues. No tones! No pictoral writing system!
It’s true that reading and writing in Korean is easy to master, as the language uses the very logical Hangul phonetic written system. Speaking and listening, while tone-free, can be challenging with unique sounds that are hard for English speakers to recognize, let alone master.
The biggest challenge with Korean lies in the grammar. Verbs can be conjugated hundreds of ways, depending on tense, mood, age and seniority. Like Japanese, one sentence can be said in three different ways, depending on the relationship between the speaker and addressee. Adjectives are conjugated too, with hundreds of possible endings. Also, there are also two different number systems, quite different from one another.
 

วันอังคาร, พฤศจิกายน 29, 2554

9 easy languages for English speakers : เก้าอันดับของภาษาที่'ง่ายที่สุดสำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ

เนื่องจากเพื่อนๆและครอบครัวถามกันมากว่าเรียนภาษาฟินนิชยากหรือไม่ อย่างไร จากประสบการณ์ที่เรียนมาบ้างแล้ว(และกำลังดำน้ำเรียนอยู่)นั้น ส่วนตัวคิดว่า"ภาษาฟินนิชยากมาก" แต่ไม่อยากพูดลอยๆเพราะเพื่อนอาจเข้าใจผิดว่าบัณทิตภาษาศาสตร์อย่างเราไม่มีน้ำยา ก็เลยลองหาบทความอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต จนมาเจอบทความจากบล็อค matador abroad (www.matadornetwork.com) ที่ว่าด้วยเก้าอันดับของภาษาที่ยากที่สุดสำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้ว(พูด-อ่าน-เขียนได้ ว่างั้นเถอะ) และแน่นอนที่ภาษาฟินนิชก็ติดโผด้วย แต่ก่อนอื่นอยากจะนำเสนอบทความที่ว่าด้วยเก้าอับดับภาษาที่ง่ายที่สุดก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้;

 9 easy languages for English speakers

By On February 17, 2011  

Anne Merritt lists 9 languages with similarities to English.
A SWEDISH FRIEND of mine speaks English and German with near-perfect fluency. “They’re easy to learn,” she insists with what I had believed to be sweet humility.

I had always assumed the Swedes were just good at everything, hence their omnipresence on North American hockey teams.
She firmly denied these superpowers. “English is a lot more like Swedish than you realize.”
English is a part of the Germanic family, and is linked to many European languages by descent or influence. It was also a big mooch in its formative years, with over 50% of its vocabulary stemming from Latin or French.
The result?
There are a lot of languages out there sharing common traits with English, which is great news when it comes to language study. When familiar structure or vocabulary is in place, the learning process becomes faster and easier. Hence my friend, the nonchalant polyglot.
Below are nine of the easiest for English speakers to learn, as classed by the Foreign Service Institute.
1. Afrikaans
Afrikaans and English both derive from the West Germanic language family. Phonetics and pronunciation are comfortable for English speakers; the one wee hurdle is the Afrikaans “g”, pronounced like the –ch in Bach.
Unlike English though, the Afrikaans language is not inflective. This means that with some memorized vocabulary, you can build sentences as you would a Lego tower, stacking words without worry of conjugation.
In Afrikaans, there is no conjugation of verbs (write, wrote, written), gender (think gato or gata in Spanish) or pronouns (my, mine; who, whose). In other words, you’ll hardly be a grammar slave if you take up this logical language.
2. Danish
As with most Scandinavian languages, the biggest hurdle with studying Danish is in being able to practice. English is spoken widely and fluently across northern European countries.
Danish is said to be the hardest Scandinavian language to learn because of its speaking patterns. It is generally spoken more quickly and more softly than other Scandinavian languages. Danish is also flatter and more monotonous than English.
Grammatically, though, it’s relatively easy. Danish has only nine verb forms, including the passive, which is peculiar to Scandinavian languages but familiar to English speakers. Danish has a lot of Germanic-based cognate vocabulary too: Monday Tuesday Wednesday, in Danish, are Mandag, Tirsdag, Onsdag.

3. French
Like all romance languages, French has a few difficulties for prospective speakers. There are more verb forms (17, compared to the English 12) and gendered nouns (le crayon, la table). Pronunciation is especially difficult in French, with vowel sounds and silent letters.
The bright side?
Like all Romance languages, French’s Latin derivations make much of the vocabulary familiar to English speakers (edifice, royal, village). Linguists debate the concrete number, but it’s said that French has influenced up to a third of English vocabulary, giving it more lexical common ground with English than any other romance language.
4. Italian
Another romance language, Italian has the great feature of readability. Italian is written as its spelled. For learners, reading comes fluidly once a few new phonemes are learned ( like –ghi- or –ci-).
Italian words tend to end in vowels, which makes for really fun, flowing speaking, as you might hear in Italians speaking English (“that’s-a my-a house-a”).
Grammatically, the language follows typical Romantic structure, with gendered nouns and similar word order. One perk: Italian has fewer verb forms than French or Spanish.
Italian is widely seen as the language of gastronomy. Many English speakers like to “study” by reading Italian restaurant menus and salivating.
5. Norwegian
The language is structurally similar to Danish, but with pronunciation more familiar to English speakers. Norwegian, like Swedish, uses a tonal “pitch accent” to distinguish homonyms, stressing either the first or second syllable of the word. It’s an easy concept to grasp: think “decent” and “descent” in English.
Verbs are a relative breeze in Norwegian, with no conjugation according to person or number. The past tense is formed with a simple –e suffix; the future is formed with the auxiliary vil; the conditional perfect with ville ha. The passive tense is formed by adding a simple –s. It’s a walk in the park compared to English.
6. Portuguese
Grammatically, Portuguese is similar to other Romance languages. There are fewer prepositions in Portuguese than in English (easy to remember!) However, their uses don’t always have direct parallels in English (easy to mix up).
One great element of the language is that interrogatives are beautifully easy, expressed by intonation alone (“You love me?”) If you can say it in Portuguese, you can ask it. What’s more, in Brazilian Portuguese, there’s one catchall question tag form: não é.
Pronunciation is fairly comfortable for English speakers, though the more nasal vowel sounds take some practice
7. Romanian
The geographic dark horse of the romance languages, Romanian is often assumed to be the most difficult of the bunch, with its Slavic influences. Not so fast.
They say that Romanian is the closest living language to Latin, and has preserved a lot of Latin’s grammatical structure. Articles are a bit of a puzzle in Romanian, with definite articles attached as a suffix to the end of nouns (frate/ fratele, brother/the brother), while indefinite articles appear before nouns (copil/un copil, child/a child).
Though the language has taken Slavic influences in its vocabulary, the language is still about 80% Latin-based, and full of cognates like sub (under) or obiect (object).
8. Spanish
Spanish pronunciation is fairly easy for English speakers, with only ten vowel/dipthong sounds (English has 20), and the easy-to-master letter ñ. Like Italian, the orthography is clear and simple; words are written as they’re pronounced, which makes reading easier. Grammatically, Spanish has fewer irregularities than other romance languages too.
A slippery element of the language (and all the Romances) is in false cognates: word pairings that sound the same as an English word, but mean something different. Particular means “private” in Spanish, and eventual means possible. See how that could get confusing?
Still, there’s no shortage of people in the world to help you fix these slip-ups. With 330 million native speakers, it’s the most popular language on this list.
9. Swedish
A fellow Germanic language, Swedish has some vocabulary common with English (mus for “mouse”, kung for “king”), and a similar syntax too.
Pronunciation may be a struggle at first, with nine vowels (like ö or å) and the sje- sound, which is unique to Swedish. Once you master it, though, the language is surprisingly melodic.
Students of the language gripe about the complicated grammar system, but the syntax shouldn’t be unfamiliar to an English speaker. In Swedish, the Subject-Verb-Object pattern is standard word order.
Also, verb formation uses many of the same patterns as English. The future tense, for example, is described with komma att + infinitive (will), or ska + infinitive (going to). Also, verbs are normally constant, even if the person changes. I am, you are, he/she is would be Jag är, du är, han/hon är.
Honorable Mention: Frisian
Never heard of it? It’s spoken by less than half a million people in the province of Friesland in the Netherlands. It wasn’t included on the list because Frisian is rarely studied as a second language, so finding a textbook or tutor outside the North Sea would be nigh impossible.
Linguistically it is the closest language to English, stemming from the same subfamily of West Germanic languages. There’s a catchy saying: “Good butter and good cheese” (Goed bûter en goed tsiis) is good English and good Fries. Phonetically, the phrases are almost identical. Uncanny.

วันศุกร์, พฤศจิกายน 25, 2554

Mid Fall Diary บันทึกกลางฤดูใบไม้ร่วงและประสบการณ์จากสระว่ายน้ำ

ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา นอกจากเรื่องเรียนแล้วกิจกรรมแต่ละวันของสองแม่ลูกก็ขึ้นอยู่กับฝนฟ้า อากาศ เช่นวันไหนฝนไม่ตกก็ต้องรีบปั่นจักรยานออกไปซุปเปอร์มาร์เก็ตซื้อของมาทำกับ ข้าว (ที่นี่จะไปไหน ถ้าไม่นั่งรถก็ต้องเดินหรือปั่นจักรยานไปเอง) หรือปล่อยลูกชายออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกบ้านด้วย แต่ถ้าฝนตกทั้งวันก็นั่งดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือ หรือวาดรูปในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้เพราะนอกจากตัวเปียกแล้วอากาศยังเย็นมาก กลัวจะเป็นหวัด ถ้าสามีไม่มีเรียนก็จะขับรถพาพวกเราไปว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำในเมือง เสาร์-อาทิตย์ก็ซื้อของมาตุนไว้ทำกับข้าว และทุกอาทิตย์จะยืมหนังสือจากห้องสมุดมาอ่าน ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์คุณแม่สามีก็สอนทำกับข้าว อบขนม เป็นต้น



อยากเล่าประสบการณ์จากสระว่ายน้ำของเมืองว่า คนที่ไปว่ายน้ำมีตั้งแต่เด็กถึงแก่ สระที่นี่มีหลายขนาด และแยกออกเป็นหลายโซน น้ำในสระอุ่นสบาย เด็กที่มาก็มีตั้งแต่เริ่มเดินได้จนถึงรุ่นประถมจะเล่นในสระ เด็กทั้งหมดสามสระ มีเด็กหลายคนที่มาเพราะอยากเล่นสไลเดอร์ เป็นท่อสีเหลืองโค้งวนเวียนไปมา สนุกหวาดเสียวมาก แต่เจ้าลูกชายไม่ยอมเล่นเพราะกลัว ส่วนคนหนุ่มสาวจะว่ายที่สระใหญ่ คนสูงอายุที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่ว่ายน้ำแต่จะเดินในน้ำเพราะมีอุปกรณ์ช่วยเดินในน้ำเพื่อออก กำลังกาย(น้ำสูงระดับอก) และยังมีอีกสระหนึ่งที่ใช้เฉพาะชั่วโมงเรียนออกกำลังกายในน้ำ เช่นแอโรบิคในน้ำ ปั่นจักรยานในน้ำ เป็นต้นพอออกกำลังกายเสร็จคนส่วนใหญ่จะย้ายไปที่สระน้ำพุที่มีท่อให้น้ำพุ่ง ออกมานวดหลัง ไหล่ คอ ฝ่าเท้า เอวเพื่อผ่อนคลายร่างกาย จะยืนหรือนอนก็ได้ คุณสามีจะขับรถพามาว่ายน้ำอาทิตย์ละครั้ง ผู้ใหญ่จะต้องชำระเงินค่าบริการแต่เด็กใช้บริการฟรี ก่อนลงสระทุกคนจะต้องอาบน้ำสระผมให้สะอาด และเข้าไปอบซาวน่าก่อนจะสวมชุดว่ายน้ำลงสระ ห้องแต่งตัว ห้องซาวน่าและห้องอาบน้ำจะแยกหญิง-ชาย พอว่ายน้ำเสร็จก็ถอดชุดว่ายน้ำเพื่ออาบน้ำ สระผม และอบซาวน่าก่อนแต่งตัวกลับบ้าน ประสบการณ์ครั้งแรกทำเอาตกใจเพราะห้องอาบน้ำเป็นห้องเดียวหลายฝักบัว ก็เลยต้องโชว์โป๊กันทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคุณยายแก่ๆ แต่คนที่นี่ไม่มีเขินอายกันเลย คงจะชินกันไปแล้ว ครั้งต่อมาเราเองก็เริ่มชินเพราะถ้าทำอะไรแตกต่างไปอาจถูกเขม่นได้


สภาพ อากาศที่นี่เป็นกลางฤดูใบไม้ร่วง มีฝนเกือบทุกวันและอุณหภูมิต่ำ แม้แต่วันที่แดดออกอุณหภูมิยังต่ำกว่าสิบองศาเลย แต่ใบไม้เปลี่ยนสีสวยมาก มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง เขียวอ่อน น้ำตาลและก็ร่วงลงมาให้กวาดทุกวัน บนท้องฟ้าก็มีเมฆเต็มไปหมด เหมือนมันลอยมาจากที่อื่นมารวมกันที่นี่ วันไหนที่ฝนตกจึงไม่อยากออกนอกบ้านเลยเพราะทั้งหนาวทั้งชื้นไม่สบายตัวเลย แต่อากาศสะอาดสดชื่นเหนือคำบรรยายจนอยากอัดใสขวดแก้วส่งไปให้ครอบครัวที่เมืองไทย

ส่วน กับข้าวกับปลาที่นี่จะว่าทำง่ายก็ได้แต่รสชาติถ้าไม่จืด มัน เค็มก็เลี่ยนไปเลย ของส่วนใหญ่หาซื้อได้จากซุปเปอร์ มาร์เก็ต มีเนื้อ ปลา หมู และไก่ขายเป็นแพ็ค หมูกับปลาแซลมอนราคาแพงที่สุด ส่วนสะโพกไก่หมักราคาถูกที่สุด มีขายทั้งผักสดและผักที่หั่นรวมกันขายเป็นแพ็คแล้วแช่แข็งเพื่อสะดวกผัดหรือ ต้ม น้ำผลไม้และโยเกิร์ตมีขายเป็นลิตร ส่วนนมของที่นี่ราคาถูกมากประมาณลิตรละ 25-30 บาท ทุกคนที่บ้านเลยดื่มนมแทนน้ำซะเลย น้ำขวด(โค้ก สไปรท์ แฟนต้า)ของที่นี่หวานน้อยกว่าของบ้านเรา แต่ซ่ากว่ามาก ส่วนน้ำแร่จะมีฟองและรสชาติเหมือนน้ำโซดาเลย ถ้าเอามาผสมดื่มกับน้ำผลไม้ได้รสหวานๆซ่าๆ ช่วยขับลมในท้องและช่วยขับถ่ายได้ดี ช่วงนี้เลยต้องหาซื้อเครื่องปรุงใหม่มาทำอาหารไทยง่ายๆที่บ้าน อย่างเช่น ซอสหอยนางรม ซอสถั่วเหลือง รสดี ซอสผัดต่างๆ และกะทิ ส่วนพริกแกงทำมัสมั่นและพริกแดงที่เอามายังมีอยู่ เอาเครื่องปรุงมาพลิกแพลงทำกับของที่หาได้ รสชาติออกมาไม่เหมือนไทยแท้แต่ก็พอถูไถไปได้ให้หายคิดถึงอาหารที่บ้านไปได้ชั่วคราว

Residence permit ผ่านแล้วจ้า

หายไปนานสองเดือนเต็มและกลับมาพร้อมกับข่าวดี คือ residence permit ผ่านแล้ว ทีนี้ก็แค่ทำเรื่องเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านที่สำนักงานทะเบียนท้องที่(Maistraatti)พร้อมขอเลขประกันสังคมจากสำนักงานประกันสังคม(KELA) และขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานเพื่อขอสิทธิประโยชน์ช่วยเหลือผู้ว่างงานตามกฎหมาย พร้อมลงทะเบียนหางานเผื่อมีตำแหน่งงานให้ทำ ส่วนเจ้าตัวเล็กก็ต้องสมัครเข้าเรียนเตรียมความพร้อมที่สถานรับเลี้ยงเด็ก(Päiväkerhot)ใกล้บ้าน หวังว่าคงจะไม่ต้องรอนานเหมือนคราวที่ยื่นขอ residence permit นะ

ช่วงที่ผ่านมาระหว่างรอผลอยู่นั้นลูกชายยังไปโรงเรียนไม่ได้ แต่โชคดีที่ยังมีสถานรับดูแลเด็กของโบสถ์ใกล้บ้านที่รับดูแลเด็กอายุไม่เกินหกขวบ รับดูแลอาทิตย์ละ 2 วัน (จันทร์กับพฤหัสบดี) วันละสามชั่วโมง (9:00 – 12:00) เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวเข้ากับภาษาใหม่และเพื่อนใหม่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย วันแรกๆเราต้องไปกับลูกด้วยเพราะเค้ายังสื่อสารกับคนดูแลยังไม่ได้ เวลาเริ่มตั้งแต่เก้าโมงเช้าถ้าฝนไม่ตกครูก็จะปล่อยเด็กๆวิ่งเล่นออกกำลังกายข้างนอกตึก จากนั้นตอนสิบโมงพักทานอาหารว่าง(เด็กๆเตรียมไปเองเช่น แซนด์วิช โยเกิร์ต กล้วยหอม แอปเปิ้ล นม หรือน้ำผลไม้) แล้วเล่นของเล่นหรืออ่านหนังสือในห้อง พอใกล้เที่ยงจะรวมกลุ่มนั่งฟังนิทานและร้องเพลงเพื่อรอพ่อแม่มารับกลับบ้าน ลูกชายยังไม่คุ้นกับภาษาหรือเพื่อนใหม่ก็เลยชอบแยกออกไปเล่นคนเดียว ส่วนเด็กคนอื่นๆก็ยังไม่กล้าเล่นกับเค้า แต่ครั้งต่อๆไปเจอกับบ่อยขึ้นก็อาจคุ้นเคยและเล่นด้วยกันมากขึ้น สองอาทิตย์แรกที่เราไปกับลูกทำให้เค้าอุ่นใจและไม่กลัวเพื่อนใหม่ คุณครูก็ใจดีคอยมาชวนคุยและแปลกิจกรรมให้ฟัง ผ่านมาร่วมสองเดือนแล้วลูกกล้าเล่นกับเพื่อนมากขึ้น รวมทั้งมีเพื่อนซี้คอยจับคู่เป็นบัดดี้กันด้วย ทั้งที่ลูกยังพูดภาษาฟินนิชไม่ได้ ดังนั้นที่ว่ากันว่าเด็กๆนั้นพูดภาษาเดียวกันก็ท่าจะจริง

เราเองก็เรียนภาษาฟินนิชฟรีกับ “ริงกิ” เป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติที่ย้ายมาอยู่ฟินแลนด์ได้พบเจอ เรียนภาษาและทำกิจกรรมร่วมกัน มีตั้งแต่ทำอาหาร เย็บปัก เล่นเกมส์ เดินเล่นในเมือง ชมพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น คลาสเรียนภาษาอาทิตย์ละสองวัน(พุธกับศุกร์ 16:00 – 18:00) แถมได้หนังสือแบบเรียนไปฝึกเองที่บ้าน ทุกอย่างไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เพราะเป็นองค์กรที่รัฐบาลช่วยเหลือเพื่อให้ชาวต่างชาติไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและสามารถปรับตัวให้เข้ากับประเทศฟินแลนด์ได้ ผ่านมาร่วมสองเดือนแล้วไม่เคยขาดเรียนเลยครูบอกว่าเราค่อนข้างจะหัวไว เรียนเร็ว อาจเพราะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้วแถมมีเวลาทบทวนที่บ้านมาก สมองเลยรับได้เยอะ แต่ยอมรับเลยว่าภาษาฟินนิชยากมาก เพื่อนใหม่ที่พูดหลายภาษาต่างบอกว่าภาษานี้ยากที่สุด แต่ถึงยากแค่ไหนก็ต้องเรียนเพราะอยากสื่อสารกับคนที่นี่และหางานทำให้ได้


วันศุกร์, กันยายน 09, 2554

Quote from Steve Jobs's commencement address in 2005

Today I came accross a YouTube video of Steve Jobs giving commencement speech to Stanford University graduates 2005. "Such an inspiring speech", I thought. There are many parts that really open my mind and here are the words of wisdom I'd like to share.

Your time is limited, so don't waste it living someone else's life. Don't be trapped by dogma - which is living with the results of other people's thinking. Don't let the noise of other's opinions drown out your own inner voice. And most important, have the courage to follow your heart and intuition they somehow already know what you truly want to become....everything else is secondary.

เวลาของคุณมีจำกัด ดังนั้นอย่าเสียเวลาใช้ชีวิตใต้เงาของคนอื่น อย่าถูกตีกรอบด้วยกฎเกณฑ์ซึ่งก็คือผลของการใช้ชีวิตตามความคิดของคนอื่นนั่นเอง อย่าให้เสียงความคิดเห็นของคนอื่นกลบเสียงที่อยู่ภายในของคุณจนหมดสิ้น และที่สำคัญที่สุด จงกล้าหาญอยู่เสมอที่จะทำตามหัวใจและสัญชาตญาณของตัวเอง เพราะบางทีสองสิ่งนี้อาจรู้อยู่แล้วว่าที่จริงแล้วคุณต้องการจะเป็นอะไร นอกจากนี้แล้วทุกอย่างเป็นเรื่องสำคัญรองลงไปหมด


วันพฤหัสบดี, กันยายน 08, 2554

ยื่นขอ Residence permit และจักรยานมือสองของไทเลอร์

สองวันที่แล้วพวกเรานำเอกสารไปยื่นขอ Residence Permit ให้ทั้งแม่และลูก เอกสารที่เตรียมไปได้แก่
1. OLE_PH2 form
2. MP_1 form
3. PK2_plus form (สามีเป็นคนกรอก)
4. Marriage certificate & registration/ทะเบียนสมรส
5. Passport
6. Copies of the marked pages of spouse's passport/สำเนาพาสปอร์ตของสามีทุกหน้าที่มีตราประทับ
7. Photo
8. Fee 120 euro/ค่าบริการ 120 ยูโร

ส่วนเอกสารของลูกชายต้องเตรียม
1. OLE_PH4 form
2. MP_1 form
3. Birth certificate/สูติบัตร
4. Clarification on guardians of the child/ใบปค.14
5. Passport
6. Photo
7. Fee 80 euro/ค่าบริการ 80 ยูโร

สถานที่ยื่นคือที่สถานีตำรวจ โชคดีที่ไม่มีคิวก่อนหน้าพวกเรา เจ้าหน้าที่ใช้เวลาตรวจเช็คประมาณยี่สิบนาทีจึงถามว่าช่วงนี้พวกเราจำเป็นต้องนำพาสปอร์ตตัวจริงไปใช้หรือไม่ พวกเราตอบว่าไม่ เจ้าหน้าที่จึงเก็บพาสปอร์ตไปพร้อมเอกสาร จากนั้นก็ยื่นกระดาษแผ่นหนึ่งให้มาโดยมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับโทร.เช็คผล พร้อมแจ้งว่าเนื่องจากมีผู้มาขอ Residence Permit มากคิวจึงยาว พวกเราอาจต้องรอผลเป็นเวลาสามเดือน (โอ้ว แม่เจ้า!) แต่ก็แนะว่าให้ลองโทร.มาฟังผลในอีกสองเดือนข้างหน้า สรุปว่าทำอะไรยังไม่ได้นอกจากรอ

ขากลับแวะร้านขายอุปกรณ์กีฬามือสอง เห็นจักรยานเด็กสภาพดีหนึ่งคันที่ไทเลอร์ชอบมาก ติดราคาเอาไว้ 50 ยูโรแต่พวกเราก็ซื้อมาได้ในราคา 40 ยูโรเพราะอีกไม่นานไทเลอร์ตัวสูงขึ้นก็ต้องเปลี่ยนเป็นคันที่ใหญ่กว่า เมื่อนั้นเราจะกลับมาแลกซื้อจักรยานคันที่ใหญ่กว่านี้จากร้านเดิม เจ้าของร้านใจดีสูบยางรถและแก้ไขเบรคเพื่อให้ปั่นได้เลย พอฝนหยุดตกเด็กชายไทเลอร์ตัวดีก็เรียกร้องให้แม่พาไปขี่จักรยานใหม่(มือสอง) แม่ก็พาไปปั่นบนถนนใกล้บ้านอย่างสนุกสนาน

เมื่อวานอากาศดีมาก แดดรำไร สองแม่ลูกก็พากันปั่นจักรยานไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ปั่นแค่ 10 นาทีก็ถึงแล้ว ซื้อโยเกิร์ต นม น้ำผลไม้ กล้วย คุ้กกี้ ไส้กรอก และ ถุงน่องได้โดยจ่ายไม่เกิน 10 ยูโร จากนั้นก็กลับมานั่งดูการ์ตูนและทานมื้อเที่ยงกัน วันทั้งวันอากาศดีซะจนเจ้าตัวดีอดไม่ได้ที่จะวิ่งเล่นและปั่นจักรยานในสวน ^^


วันศุกร์, กันยายน 02, 2554

กลับมาอีกครั้งอย่างเต็มภาคภูมิ : A long return to Finland



ลาจากฟินแลนด์ไปนานหนึ่งปีเต็ม คราวนี้กลับมาในฐานะภรรยาแถมพาหนุ่มน้อยไทเลอร์มาด้วยกัน การเดินทางค่อนข้างจะราบรื่นเพราะมีผู้ใหญ่สองคนช่วยกันดูแลเด็กซนหนึ่งคน เดินทางกันแบบพ่อแม่ลูกจึงค่อนข้างอุ่นใจ พอมาถึงสนามบินคนที่มารับกลับเป็นรถแท็กซี่ที่คุณแม่สามีจ้างมา เป็นรถคลาสสิค จำไม่ได้ว่ารุ่นไหน แต่เป็นรุ่นที่ราชวงศ์อังกฤษใช้เป็นพาหนะในงานต่างๆโดยเฉพาะงานแต่งงาน แถมด้านหลังติดป้าย "Just married" ซะด้วย โก้เชียว




มาถึงได้สี่วันแล้วแต่ยังไม่มีเวลาออกไปไหนมาไหนด้วยกันเลยเพราะสามีติดเรียนทั้งวัน แม่ลูกจึงติดแหงกอยู่ในบ้าน อาศัยตัวต่อเลโก้ ทีวี ดีวีดีการ์ตูน สมุดระบายสี และอินเตอร์เน็ตช่วยคลายเหงา ส่วนตัวแล้วชอบทำงานจากบ้าน แต่เพราะภาษายังไม่คล่อง อีกทั้งต้องดูแลลูกชายที่ยังต้องปรับตัวอีกเยอะ จึงยังไม่ได้ลงมือทำงานที่เตรียมมา เริ่มรู้สึกแล้วว่าการเป็นแม่บ้านในต่างแดนไม่ง่ายอย่างที่คิด 



เรื่องอาหารนั้น โชคดีที่หอบหิ้วหม้อหุงข้าวมาจากเมืองไทย ห้องครัวจึงยังไม่ขาดแคลนกลิ่นข้าวหุงใหม่ๆเหมือนบ้านเรา ส่วนกับข้าวนั้น เนื่องจากยังไม่มีเมนูที่อยากทำ(และเดิมไม่ชอบทำอาหาร)จึงแค่เตรียมกับข้าวแบบง่ายๆทานกันเองสองคน อย่างเช่น ไส้กรอกอบไมโครเวฟ ไก่อบซอส(ซื้อแบบที่เค้าหมักให้พร้อมอบที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต) แต่หากลูกเรียกร้องอยากกินอาหารไทย ถึงที่สุดแล้วคงผัดมาม่าให้กิน แหะแหะแหะ

วันศุกร์, กรกฎาคม 22, 2554

เจ้าแม่ Sex and The City เอ่ย "มีคู่ไม่ใช่ความสำเร็จที่สุดในชีวิต"

"สิ่งหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากการเขียนคอลัมน์(Sex and The City)คือเรื่องราวของผู้หญิงและผู้ชายต่างๆ ในสังคมที่เราอยู่ สิ่งที่เราควรจะทำหรือควรจะเป็น...อาจไม่ได้เป็นจริง บางครั้งผู้หญิงจะเข้าใจว่า "การมีความสัมพันธ์กับผู้ชายเป็นสิ่งจำเป็น คุณจะต้องหาผู้ชายคนนั้นให้เจอ" แต่ก็มีหลายอย่างที่ความสัมพันธ์นั้นไม่สามารถให้คุณได้ และมันก็ไม่ได้ทำให้คุณมีความสุขเสมอไป มันอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนประสบความสำเร็จบางอย่างในชีวิต แต่ก็เป็นความรู้สึกเพียงสั้นๆเท่านั้นล่ะ ความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงเราบางส่วนมันก็มาจากเรื่องส่วนตัว และบางส่วนมาจากการทำงาน ซึ่งอันนี้ชั้นมองจากความที่เป็นคนๆหนึ่งนะ ไม่ได้มองจากที่ว่าเราเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเท่านั้น และเมื่อไรที่คุณรู้สึกภาคภูมิใจกับความสำเร็จในชีวิตคุณแล้ว ความสัมพันธ์ของคุณก็จะเป็นไปโดยที่คุณไม่เรียกร้องหรือคอยมองหาความมั่นใจในตัวเองตลอดเวลา ฉันคิดว่าความสำเร็จหรือโอกาสดีๆในชีวิตนั้น ผู้หญิงเราควรไขว่คว้าไว้ไม่ใช่เพื่อคนอื่น แต่เพื่อตัวเราเอง"--- บทสัมภาษณ์แคนดาซ บุชเนล ผู้เขียนซีรีย์ Sex and The City อันโด่งดัง

ที่มา: นิตยสาร CLEO Thailand, May 2006 No. 112 หน้า 160

 

วันจันทร์, กรกฎาคม 18, 2554

♫ Thinking Of You - Sister Sledge

Someone was thinking of me last night ... ^__^

เมื่อคืนนี้ มีใครบางคนกำลังคิดถึงเราอยู่นะ อิอิอิ

วันศุกร์, กรกฎาคม 15, 2554

สำนวน : ประเภทของขโมย



Theft ธีฟ เป็นคนลักขโมย ที่เป็นคนละพวกกับ robber, burglar, mugger, shoplifter ฯลฯ ซึ่งคำพวกนี้จะนำมาอธิบายในภายหลัง

กลับมาตรงที่ thief คือคนลักขโมย เป็นคำทั่วๆไปที่ใช้เรียกคนที่ขโมยของคนอื่น แต่ไม่ใช้ความรุนแรง พหูพจน์ของ thief ก็คือ thieves กริยาที่หัวขโมยทำกันคือ steal ซทีล

A thief is a person who steals.

Manfred’s apartment was broken into last night, and the thieves got away with B 200,000. = อพาร์ทเมนต์ของแมนเฟรดถูกงัดเข้าไปเมื่อคืนนี้ พวกขโมยได้เงินไปสองแสนบาท

ส่วน theft เป็นการขโมย ไม่ใช่เป็นคน กรณีอพาร์ทเมนต์ของแมนเฟรด พูดได้ใหม่ว่า Manfred had a theft in his apartment last night. = แมนเฟรดโดนขโมยที่อพาร์ทเมนต์เมื่อคืนนี้

กรณีของ robberรอบเบอะ อันนี้หมายถึง โจรปล้นธนาคาร โจรปล้นร้านค้า ต่างจาก theft ตรงที่ robber มัก use violence คือใช้ความรุนแรง

ผู้เสียหายที่โดนปล้นเมื่อวานซืนซึ่งยังนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลให้การว่า “The robbers shot me before making their get-away.” = ไอ้โจรที่ปล้นมันยิงผมก่อนที่จะหนี

แล้วไอ้พวกตีนแมว พวกที่ย่องเบา งัดเข้าไปในบ้านเพื่อขโมยของนี่ล่ะ ฝรั่งเรียกว่า burglarเบอกเลอะ พวกนี้นี่แหละที่ illegally enter buildings and steal things

Shopliftingฌ็อพลิฟทิง อันนี้เป็นการขโมยโดยลอบหยิบสินค้าในร้าน คนขโมยประเภทนี้เราเรียกว่า shoplifter เช่น Petula was caught shoplifting by a store detective. = พีตุลาถูกจับได้โดยนักสืบประจำห้าง

คุณผู้อ่านคงเคยเจอกริยา mug ออกเสียงว่า มัก หมายถึง ทำร้ายและปล้นเงิน หากคุณได้อ่านข่าวเจอแบบนี้ The teenage gang mugged the tourists. ก็ขอให้เข้าใจได้เลยว่า นักท่องเที่ยวโชคร้ายกลุ่มนี้ถูกกลุ่มวัยรุ่นทั้งปล้นเงินและทั้งถูกทำร้าย เพราะ mug สื่อความหมายทั้ง ทำร้าย+ปล้น เมื่อจะเอาคำนี้มาทำเป็นคำนามที่เป็นคน ก็ใช้คำว่า mugger

วลีและคำกล่าวที่ฝรั่งเอาศัพท์ที่เกี่ยวกับขโมยขโจรมาใช้ เช่น It takes a thief to catch a thief. หมายถึง คนไม่ซื่อสัตย์ย่อมสามารถคาดเดาคนไม่ซื่อสัตย์คนอื่นได้ หรือ Like a thief in the night = เหมือนขโมยในราตรี อันนี้หมายถึง secretly+unexpectedly+without being seen = อย่างลับ อย่างไม่คาดคิด โดยไม่มีใครเห็น

คุณผู้อ่านเคยเจอคนที่ยืมเงินของคนอื่นไปจ่ายให้อีกคนหนึ่งไหม อย่างนี้ฝรั่งมีกริยาวลีว่า rob Peter to pay Paul เช่น Troy robbed Peter to pay Paul! I mean he borrowed money from Augustine to pay back money he borrowed from Emma. = ทรอยปล้นปีเตอร์ไปจ่ายให้พอล! ผมหมายถึง แกยืมเงินจากออกัสตีนไปจ่ายคืนให้เอ็มม่า นั่นเอง

ขอบคุณที่มา : คอลัมน์เปิดฟ้าภาษาโลก ไทยรัฐออนไลน์ โดย คุณนิติ นวรัตน์
วันที่ : 9 กรกฎาคม 2554
http://www.thairath.co.th/column/edu/openlang/184851

วันจันทร์, กรกฎาคม 11, 2554

รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์ ๒๕๕๔ (ม.ค-พ.ค)

ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- จันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 13:55:53 น.

๑.ข้อมูลทั่วไป
ฟินแลนด์เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ที่ใช้เงินสกุลยูโร เป็นตลาดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป มีประชากร ๕.๒๖ ล้านคน  เศรษฐกิจฟินแลนด์ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ค่อนข้างรุนแรง  โดย GDP ลดลงถึงร้อยละ ๘.๒ เนื่องจากการส่งออกของอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งฟินแลนด์เป็น ผู้นำการผลิตลดลงอย่างมาก  แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจฟินแลนด์ค่อยๆฟื้นตัวทีละน้อย เศรษฐกิจโดยรวมของฟินแลนด์คาดว่าจะขยายตัวในปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๒.๙ จากการขยายตัวของประเทศคู่ค้า เช่น เยอรมันนี สวีเดน และรัสเซีย เป็นผลทำให้การส่งออกของฟินแลนด์มีแนวโน้มดีขึ้นไปด้วย และรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของภาคการลงทุน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๔ คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ ๒ เป็นผลอันเนื่องมาจากความเชื่อมั่นของครัวเรือนและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิต แต่การออมมีแนวโน้มลดลง

ในปัจจุบัน ฟินแลนด์มีแนวโน้มการลงทุนที่ดีขึ้น  อัตราว่างงานคิดเป็นร้อยละ ๘.๔ ในปี ๒๕๕๔  ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น กฎระเบียบทางการค้า การนำเข้าเป็นไปตามกฎระเบียบของสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู ผู้บริโภคนิยมสินค้าแฟชั่น สินค้าฟุ่มเฟือย และแบรนด์ดัง นิยมซื้อสินค้าผ่าน E-commerce และมีแนวโน้มกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การค้าและการลงทุนกับฟินแลนด์มีหอการค้าไทย-ฟินแลนด์ (Thai-Finnish Chamber of Commerce) เป็นผู้สนับสนุน อุตสาหกรรมที่โดดเด่นของฟินแลนด์คือ อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี Nokia เป็นผู้นำในตลาดโลก และเกมส์ซอฟแวร์แอพลิเคชั่น Angry Birds ที่มีจุดกำเนิดจากฟินแลนด์ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคในขณะนี้  นอกจากนี้ ก็มีสินค้า Private Brand  ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เช่น marimekko
๒.ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์
                                              ม.ค. - พ.ค.                  ม.ค. - พ.ค.                 %เพิ่ม/ลด
                                                  ๒๕๕๔                       ๒๕๕๓
การค้ารวม                                ๓๔๔.๕๕                     ๒๐๙.๙๕                    ๖๔.๑๑
การส่งออก                                ๑๖๙.๔๙                     ๑๒๑.๐๑                    ๔๐.๐๗
การนำเข้า                                ๑๗๕.๐๖                      ๘๘.๙๔                    ๙๖.๘๓
ดุลการค้า                                  -๕.๕๗                      ๓๒.๐๗                   -๑๑๗.๓๖
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ (๒๕๕๔)                                                        
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

ในปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-พ.ค.) การค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์มีมูลค่ารวม ๓๔๔.๕๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๓ ที่มีมูลค่า ๒๐๙.๙๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๔.๑๑ โดยแยกเป็น การส่งออกจากไทยไปยังฟินแลนด์มูลค่า ๑๖๙.๔๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ   และเป็นการนำเข้าจากฟินแลนด์มูลค่า ๑๗๕.๐๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี ๒๕๕๓ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐.๐๗ การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๖.๘๓ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า ๕.๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐ  เทียบกับช่วงเดียวกันกับปี ๒๕๕๓ ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า ๓๒.๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากการนำเข้าเครื่องบิน เครื่องร่อนและอุปกรณ์ ที่สูงมากขึ้น ในช่วงปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-พ.ค.) นี้ ฟินแลนด์เป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ ๕๒ ของไทย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ ๕๐ และเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันกับที่ ๔๒ ของไทย
๓.การส่งออก
           ๓.๑)  ในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังฟินแลนด์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ๔๕.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๕.๕๑ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๙.๒๑ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ๑๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๓๓.๙๙ ผลิตภัณฑ์ยาง ๑๐.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔๙.๑๔ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  ๕  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒,๑๖๒ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในครัวและบ้านเรือน ๔.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๓๓ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ๔.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๒๖.๘๗ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ๔.๓ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๖.๕๓
          ๓.๒) สินค้าไทยที่มียอดการส่งออกลดลงที่สำคัญในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔  ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ๙.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๑.๙๓ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๒๒.๗๑
๔.การนำเข้า
          ๔.๑)  ในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฟินแลนด์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากสินค้านำเข้า ๑๐ อันดับแรก ได้แก่ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบิน และส่วนประกอบ ๔๔๐.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๕,๙๙๖.๑๐ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ๕๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕๔ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ๓๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖๐.๑๐ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ๒๕.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒๒.๙๒ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ๒๔.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๖.๘๕ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ๑๗.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐๗.๔๓ และเคมีภัณฑ์ ๑๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๘.๔๕
          ๔.๒)  สินค้าที่มียอดการนำเข้าจากฟินแลนด์ลดลงที่สำคัญในช่วง ม.ค.-พ.ค.ปี ๒๕๕๔  มีเพียงรายการเดียวได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๒๗.๐๑
๕.สรุปและข้อคิดเห็น
          ๕.๑)  แม้ว่าตลาดฟินแลนด์จะมีมูลค่าการค้ากับไทยยังไม่มาก  แต่ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยสูงติดอันดับหนึ่งใน ๕ ของโลก  และเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วกว่าประเทศอื่นในยุโรป  จึงเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจซื้อสูง ฟินแลนด์จึงเป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจในแถบยุโรปเหนือ
          ๕.๒)  ประชากรฟินแลนด์มีความสามารถทางภาษาที่หลากหลาย เช่น ภาษาสวีเดน อังกฤษ รัสเซีย  รวมทั้งทำเลที่ตั้งของฟินแลนด์ที่เชื่อมต่อกับหลายกลุ่มประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ ตลาดกลุ่มประเทศบอลติก ตลาดรัสเซีย และตลาดสหภาพยุโรป โดยฟินแลนด์ใช้กฎระเบียบการนำเข้าที่เหมือนกันกับสหภาพยุโรป แต่ได้มีการปรับกฎหมายบางอย่าง เช่น การจ้างแรงงานต่างชาติให้ผ่อนคลายกว่าประเทศสหภาพยุโรปอื่น  ทำให้แรงงานไทยในสาขาบริการ เช่น พ่อครัว  พนักงานนวด  หรือธุรกิจท่องเที่ยว ภัตตาคาร  สปา  โรงแรม  มีโอกาสเข้าไปทำธุรกิจได้สะดวกกว่าประเทศยุโรปอื่น
          ๕.๓)   กลุ่มผู้มีรายได้สูงจากประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะ รัสเซียนิยมเดินทางมาพักผ่อน จับจ่ายใช้สอย  รวมทั้งการทำธุรกิจ  ดังนั้น  ผู้ส่งออกไทย จึงอาจใช้ฟินแลนด์เป็นประตูการค้า/การทำธุรกิจเชื่อมต่อไปยังประเทศใกล้ เคียงดังกล่าวข้างต้น  ซึ่งสินค้าสินค้าหรือบริการที่จะนำเสนอในตลาดนี้ ควรจะมีมีคุณภาพมาตรฐาน และนำแฟชั่น เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภคในตลาดนี้

สรุปข้อมูลสำคัญของฟินแลนด์ 2553-2554
ข้อมูลทั่วไป
1.พื้นที่                           338,145 ตร.กม.
2. ประชากร                      5.26 ล้านคน (ปี 2554)
3.Exchange
(ยูโร/1 USD) 0.69 ยูโร (พ.ค. 2554)
(บาท/1ยูโร)  43.92 บาท(พ.ค. 2554)
4. GDP, Current Prices
232.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2553)
234.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2554)
5. Real GDP Growth (%)
2.4% (ปี 2553)              2.0% (ปี 2554)
6. รายได้ต่อหัว (PPP) 35,300 เหรียญสหรัฐ/ปี (ปี 2553)
7. อัตราเงินเฟ้อ (%) 1.4% (ปี 2553)  1.8% (ปี 2554)
8. อัตราการว่างงาน (%)
8.4% (ปี 2553) 7.2% (ปี 2554)
9. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2552)    แหล่งที่มาเงินทุนจากต่างประเทศมากที่สุด (ปี 2552) ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ 1,667 ล้าน$ ลักเซมเบริกส์ 1,378 ล้าน$ หมู่เกาะเวอร์จิ้น 464 ล้าน$ และนอร์เวย์ 393 ล้าน$ ภาคการค้าส่ง 1,301 ล้าน$ และภาคการบริการ 1,083 ล้าน$ เป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 10. นักท่องเที่ยว 5.69 ล้านคน (ปี 2552)  กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ รัสเซีย สวีเดน เอสโทเนีย และเยอรมันนี มีนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์ในไทยประมาณ 147,000 คน (ปี 2553) หรือลดลง -5.80%

ที่มา: 1.-5, 7, 8. IMF และ EIU (2011) 2. จาก Statistics Norway 3. Exchange-Rates.org และธนาคารกรุงเทพ 6. จาก CIA (2011) 9. จาก World Bank (2011) และ OECD (2011) 10. จาก Finnish Tourist Board (2011) & กรมการท่องเที่ยว (2011)

Link: http://www.ryt9.com/s/expd/1189175