วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 19, 2555

ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น(จริงง่ะ)

และแล้วปิดเทอมฤดูร้อนก็มาถึงพร้อมๆกับอากาศที่อุ่นขึ้นเรื่อยๆ ตั้งใจว่าจะใช้เวลาหนึ่งเดือนเต็มๆนี้อ่านหนังสือทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาและเรียนเพิ่มเติมด้วยตัวเอง พร้อมกับวางแผนสอนอ่านและเขียนภาษาไทยแก่ลูกชายวัยหกขวบเพราะดูท่าทางเค้าจะลืมไปบ้างแล้ว ว่าแล้วปิดเทอมวันแรกเราก็รีบไปห้องสมุด ยืมหนังสือเรียนภาษาฟินนิชฉบับภาษาอังกฤษมาสองเล่มหนาๆพร้อมซีดีฝึกฟัง ว่าจะไม่เถลไถลแล้วนะ แต่ก็ไม่วายแอบแวะมุมหนังสือเรื่องสั้นภาษาอังกฤษสำหรับอ่านนอกเวลา บรรจงเลือกมาจำนวนหนึ่งโหล คาดว่าสามารถอ่านจนครบทุกเล่มได้ในเวลาไม่นานเพราะแต่ละเล่มบางมาก (หนาสุดไม่เกิน 100 หน้า) หนอนหนังสือตัวโตอย่างเราใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็อ่านจนจบเล่ม

หนึ่งอาทิตย์ต่อมาด้วยยังมีไฟจึงอ่านจบสำเร็จทั้งหนังสืออ่านนอกเวลาและบทเรียนในหนังสือเรียนที่วางเป้าเอาไว้จำนวนเจ็ดบท (อ่านและทำแบบฝึกหัดวันละหนึ่งบท) แต่พออาทิตย์ที่สองไฟก็เริ่มมอดเพราะเอานิสัยเก่ามาใช้ คือทำกิจกรรมอื่นๆมากขึ้นและเริ่มผลัดวันประกันพรุ่ง ทำให้หนี้อ่านบทเรียนพอกหางหมู จนกระทั่งวันนี้น่าจะอ่านถึงบทที่สิบเจ็ดแล้ว แต่ความจริงยังอ่านบทที่แปดไม่จบเลย อีกไม่ถึงสองอาทิตย์โรงเรียนจะเปิดแล้ว เราจะอ่านทันมั๊ยเนี่ย ไฟลนก้นแล้วสิ ตายแน่แว้ววววววช้านนนน



หนึ่งในกิจกรรมช่วงฤดูร้อนที่เราชอบคือ ตั้งโต๊ะขายของที่ถนน Janne ในเมืองตอนบ่ายวันพุธและเช้าวันเสาร์ ของที่นำไปขายก็เน้นเสื้อผ้าและของใช้มือสองต่างๆเพราะเป็นตลาดของมือสอง แต่เจ้าเหมี่ยวเพื่อนของเราก็ได้นำดอกไม้ประดิษฐ์ต่างๆ และสินค้าที่หอบหิ้วมาจากเมืองไทยไปขายด้วยกัน แถมขายดีซะด้วย ต่อมาเธอก็ได้ไอเดียขายอาหารแห้งวันนี้ก็เลยทำปอเปี๊ยไทย ( Thaimaalaisia Kevätkääryleitä ) และน้ำจิ้มรสเด็ดไปขายเป็นครั้งแรก ไม่น่าเชื่อว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ทำมาสี่สิบชิ้น ขายได้ตั้งสามสิบห้าชิ้น แหม เพื่อนเราทำอร่อยจริงๆและคงทำมาขายเรื่อยๆเนอะ

กิจกรรมที่ท้าทายที่สุดที่ผ่านมาคือ การเดินทางไปเยี่ยมคุณป้าและคุณยายลีซ่าของสามีที่เมือง Iisalmi กับไทเลอร์(ลูกชายวัยหกขวบจอมซน), คุณแม่สามี  และ หมาพันธุ์บาเซ็นจิสามตัวของคุณแม่ แม้จะไม่ใช่การเดินทางมาอีซาลมิเป็นครั้งแรกของเราแต่เป็นการมาครั้งแรกโดยปราศจากสามี ลองคิดดูว่าเราจะเกร็งขนาดไหน! อีกทั้งอดกังวลไม่ได้เรื่องการสื่อสารกับคุณยายลีซ่าเพราะเธอพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเราก็ยังพูดภาษาฟินนิชไม่คล่องและคราวนี้ก็ดันไม่มีล่ามส่วนตัว(สามี)อีกต่างหาก แต่โชคดีที่คุณยายพูดช้ามาก อีกทั้งระดับความสามารถด้านการฟังของเราอยู่ในระดับดีพอใช้ จึงฟังคุณยายเข้าใจเกือบ 70% และยังสามารถเอาตัวรอดไปได้ด้วยการแสดงออกทางสีหน้า พร้อมกับแสดงความเห็นแบบสั้นๆ กระทัดรัด อย่างเช่น ทำหน้าเห็นด้วยพร้อมพูดว่า Totta kai! แน่นอน! หรือ ทำหน้ายิ้มตาใสวิ้งๆแล้วเอ่ย Ihanaa! สวยจัง! ดีจังเลย! หรือ ทำหน้าเหี่ยวส่งสายตาเห็นใจและพูดว่า Oh voi! โธ่เอ๋ย! อ้ออ๊อย! หรือแม้แต่หัวเราะตามคุณยายได้โดยไม่รู้สาเหตุ เป็นต้น (แอ็คติ้งเป็นเลิศคร่ะ) แต่ยังไงก็เห็นได้ชัดว่าคุณยายลีซ่ามีความสุข สดใสขึ้นเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเราเดินทางไปเยี่ยม ไทเลอร์ก็เป็นคนหนึ่งที่เรียกรอยยิ้มให้คุณยาย วันที่เราเดินทางกลับแอบเห็นคุณยายน้ำตาคลอด้วยล่ะ เสียดายที่เราอยู่ตั้งไกล(ขับรถตั้งห้าชั่วโมง) ถ้าอยู่ใกล้กันเราคงจะหาทางมาเยี่ยมคุณยายให้บ่อยกว่านี้




ยังไม่จบนะฮ้า....โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป...

วันอังคาร, กรกฎาคม 17, 2555

6 Brainy Habits of the Wisest People


Intelligence may be somewhat innate, but wisdom can most certainly be learned. Here’s how to wise up at any age.

- from  A Sharp Brain for Life  (Reader’s Digest Association Books)

1. Work at being social. Studies show that people who stay connected to others demonstrate higher levels of wisdom than those who are more isolated. 

2. Practice being open-minded. Being open-minded means finding empathy and realizing that everyone has a life story that influences their actions. During the course of every day, make a note of the issues that bug you, and take a moment to see them from the other side.

3. Learn how to say, "I could be wrong." A wise person understands that it is impossible to know everything and that life is capable of taking unexpected turns. 

4. Switch up what types of books you read. Mix up your bookshelf: Read histories, biographies and memoirs, funny reads, fictional books that expose you to new cultures and eras, and books that present a point of view or make a case about certain aspects of heath/science, politics, and other subjects.  

5. Tap into your self-knowledge. Try this exercise: write down your three biggest failures and three greatest successes. For each, review the events that led up to it and what lessons you took away from the experience. Look for patterns. The goal is to look at each experience, good or bad, as more fuel to enrich your wisdom. 

6. Read the news. You cannot make balanced choices unless you understand world circumstances and the experiences of others.