วันพุธ, กุมภาพันธ์ 21, 2561

Banana Tree Horse : a book of poetry from my country

My second book of this year is under the challenge subject ' A book of poetry from my country'.
Title: Banana Tree Horse
Author: Paiwarin Khao-Ngam
Translated into English by B. Kasemsri


Photo on the book cover portrays a Thai traditional game called 'Banana Horse Riding'. Children make a toy horse from banana leaves and play by riding around alone or running a race holding the toy horse between their legs. This is one of the simple and interesting ways to make use of banana trees that grow all year round and can be found all over Thailand. 
 
This book is a collection of poetry which reflect Thai ways of life. My favorite is in the first chapter; 'Banana Tree Horse 1', page 20-21.
It is a story of a young migrant, who moves from a countryside to the capital city. He rides to the city with his banana tree horse and a gun, both made from banana leaves and crafted by his father. They symbolize his childhood and the rural world he comes from. They also means courage and protection for the roaming hero in search of his destiny. As he arrives to the 'City of Angels' he sees a different world, so full of 'hazy smoke', 'rows and rows of concrete gables', 'jumbles wires and tangled cables', and 'jingling and jangling sounds'. Time has past and the man has come to realize that this is not his destiny. He cannot fight the impact of urban alienation he experiences, for example 'search in vain for a mate...to find only my faithful steed', 'weak in face of many a demon...surrounded by ferocious foes', and 'with chest scars and a bleeding pain'. Finally, he understands that his 'dreams of conquest' are quickly 'undone by urban machines' and the courage and protection (banana tree and gun) he has brought with him may be defeated too. In order to save himself from further misery, he decides to 'rid back o'er rice field' back to his home and back to his natural world again.




It is a powerful message from one of migrant's point of views. One that is bound by the unfamiliarity of urban life and eventually suffer from alienation. The only way he can survive is by going back home where he belongs. But not all migrants can do that.

As an immigrant in Finland, I feel strongly connected to this piece of poetry, especially the unfulfilled dreams and loneliness parts ('the dreams of conquests...now undone by urban machines' and 'search in vain for a mate...to find only my faithful steed'). Immigrants often have expectations of the new place before they relocate. Many have dreams for their new beginnings. Some need to leave their past in order to search for their future. Once they reach their destination, many of them might find themselves in a whole different world, a totally new home. The world that treats them like a renter, not a homeowner. Nothing in this new home belongs to them, and they don't belong to it, just yet, either. Hence, their expectations, dreams and needs can not be quickly fulfilled. It takes time to gain the sense of belonging. It takes more than courage to adapt to the new environment and to be accepted. It needs more than patience to persevere through times of difficulties. And there's no better life-driven transportation than hope, and only hope alone becomes the best personal weapon. Hope for a better day when you fail. Hope for a new day when you're hurt.... I can keep writing,but the length of this text might wear you out. So let me finish by saying that, unlike the man in this poetry, I choose to fight for my dream with the courage held firmly in my hands and hope in my heart. Here I am and I'm standing tall.



วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 11, 2561

ดอกไม้ใต้ภูเขาน้ำแข็ง : a book that raises social awareness against domestic violence

วันหนึ่งมีโอกาสแวะไปทำบัตรยืมหนังสือที่ห้องสมุดเขตปาซิล่าที่เค้าจัดชั้นหนังสือวรรณกรรมภาษาไทยร่วมหลายร้อยเล่ม เจ้าหน้าที่ใจดีมากกกกค่ะ ชวนคุยนู่นนี่นั่น ให้เอกสารมาปึกใหญ่เกี่ยวกับกฏระเบียบการใช้บริการจากห้องสมุด รวมทั้งคลับเรียนภาษาฟินนิชแก่ผู้เรียนต่างชาติ เพราะแกคงรู้ว่าทักษะภาษาฟินนิชของดั๊นนั้นด้อยมาก ในคราวนั้นเองดั๊นก็ยืมหนังสืออ่านภาษาไทยมาหนึ่งตั้ง อยากยืมมากกว่านี้ แต่กลัวจะแบกกลับบ้านไม่ไหว ยังไม่ทันกลับถึงบ้านดั๊นก็เปิดอ่านเล่มแรกบนรถไฟนั่นเลยค่ะ อ่านจนวางไม่ลง เกือบลงผิดป้ายแน่ะหนังสือเล่มแรกที่หยิบมาอ่าน คือ หนังสือแนวสารคดี ชื่อ ดอกไม้ใต้ภูเขาน้ำแข็ง เขียนโดย อรสม สุทธิสาคร

ออกตัวก่อนเลยว่า เป็นหนังสือที่เกือบมองข้าม เพราะเดาจากชื่อและปกหนังสือว่าน่าจะเป็นนิยายรัก ที่ไม่ใช่แนวโปรดของตัวเองแต่อย่างใด แต่เมื่อสายตาเหลือบไปเห็นข้อความมุมล่างซ้ายที่เขียนว่า เรื่องจริงอันขมขื่นของเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ก็พลันต้องพลิกอ่านปกหลัง และพุ่งความสนใจกับคำว่า ทำร้ายทางเพศ ข่มขืน ประจาน ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ไม่รับผิดชอบ เหล่านี้ที่กระตุ้นต่อมกระหายใคร่รู้ขึ้นมาทันที บวกกับความที่เราสนใจประเด็นทางสังคมนี้อยู่แล้ว หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนประตูบานแรกที่เปิดให้เห็นมุมมืดมุมหนึ่งของสังคมซึ่งอันที่จริงมิได้ไกลตัวเราเลยแต่อย่างใด

เกี่ยวกับหนังสือ : ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราวของผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ จากการสัมภาษณ์ นำมาเขียนเป็นเรื่องสั้น รายละหนึ่งเรื่อง ผู้หญิงเหล่านี้บางรายได้รับความกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากความช่วยเหลือ จนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต หลายรายโชคดีได้รับความช่วยเหลือทันการ จึงสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ แต่ที่น่าตกใจคือยังมีเหยื่ออีกหลายรายที่ตกอยู่ในวังวนความทุกข์ ยอมรับสภาพเหยือของความรุนแรงต่อไปเพราะความคิดที่เป็นมายาคติว่า ภรรยาที่ดีจะต้องเชื่อฟังสามี หรือ ผู้ชายเป็นเจ้าของภรรยาของตน เป็นต้นนอกจากนี้ผู้เขียนยังแทรกบทที่เขียนเรื่องราวจากฝ่ายชายผู้ที่ก่อเหตุความรุนแรง และบทที่เป็นเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นั่นก็คือ ลูก อีกด้วย ในส่วนบทท้ายหนังสือนั้น ผู้เขียนได้นำบทสัมภาษณ์จาก นักวิชาการ จิตแพทย์ เอ็นจีโอ นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย ผู้ที่คลุกคลีกับปัญหานี้มายาวนาน มาช่วยแจกแจงปัญหา ให้ความรู้ และแนะแนวทางที่จะสามารถป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันจะนำมาซึ่งความสูญเสีย รวมทั้งแนะนำหน่วยงานต่างๆที่สามารถให้ความช่วยเหลือ ทั้งก่อนและหลังจากที่เหยื่อได้รับความกระทบกระเทือน สิ่งที่ผู้เขียนอยากฝากให้ผู้อ่านได้ขบคิด นั่นคงเป็นคำถามที่ว่า เราจะมีส่วนป้องกันและช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวเหล่านี้อย่างไร และที่สำคัญกว่านั้นคือ เราจะปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในสังคมมนุษย์ ทั้งในเรื่องเพศ สีผิว และชนชั้น ได้อย่างไร น่าคิดนะเธอ 

อ่านจบแล้วได้ข้อคิดมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เราได้มองเห็นปัญหานี้ในมุมลึกขึ้น และขยายกว้างขึ้นครอบคลุมคนรอบตัว นอกจากนี้ยังทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า สิ่งใดในโลกนี้ล้วนอนิจจัง ไม่มีอะไรที่ยั่งยืนยาวนาน ร่างกายมีเกิดและดับฉันใด อุปมาที่ใจก่อขึ้นอย่างเช่นความรู้สึกและอารมณ์ เช่นอารมณ์รักก็ต้องมีเกิดและดับไปเช่นกันไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ดังนั้นเราควรใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันอารมณ์และมีสติ หากไม่ยึดติดกับสิ่งใด ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์ และปล่อยวางได้ง่ายเป็นต้น 

ใครที่สนใจ ลองหามาอ่านกันนะคะ

This book is about domestic violence in Thailand. The author is an experienced documentary journalist. She collected stories from the domestic violence victims, mainly women, and wrote this book based on their stories. Some victims suffered from a long cycle of abusive relationship to the point where they no longer wished to live, and sadly took their own lives. Many of them found strength in themselves and walked out of the sick relationship alive. Some decided to seek help and survived, while some didn't even have a chance to be saved in time.

I find this book disturbing, yet interesting not only because it is 'based on the true story', but also because these stories reflect the distorted beliefs which is rooted in Thai culture for a long time, for example 'a man is the owner of his wife'. Hence, he has all the rights to threaten her in many forms, i.e. physically, sexually, emotionally, and economically. The worst part is this almost seems to be accepted both by the society and even the victim herself.
This issue is worth pondering, don't you think?

When I finished this book, one of the core teachings of Buddhism came in my mind, "nothing lasts forever'', indeed! Love, too, will never last. Love can go away and if we resists it will turn into hate and eventually will cause suffering. We should let go in order to be free from all attachment. This is the only way to lessen sufferings in our life.



วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 02, 2561

♫ ร้องรำทำเพลง: Kiss Me / sixpence non the richer



Kiss Me เป็นเพลงที่อยู่ในความทรงจำมาตลอด สมัยที่เรียนม.ปลายชอบเพลงนี้มาก เพราะเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์วัยรุ่นวัยรักอยู่เรื่องหนึ่ง และฮิทมากจนต้องนำมาหัดร้องกับวงดนตรีของเพื่อนๆในห้องเดียวกัน และกาลเวลาที่ล่วงเลยมาก็ช่วยพิสูจน์ว่า เพลงนี้ยังอยู่ในใจเสมอ ยังชอบไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันเก่าๆ เราก็ขอนำเพลงนี้มาร้องในอารมณ์ใสๆ เพิ่มความกุ๊กกิ๊กน่ารักด้วยอัลบั้มภาพถ่ายของน้องหมาพันธุ์บาเซ็นจิวัยแบเบาะของคุณแม่สามี ใครฟังแล้วชอบหรือต้องการติชม ก็สามารถเขียนคอมเม้นท์ใต้บทความด้านล่างนี้นะคะ :)