วันอังคาร, พฤศจิกายน 29, 2554

9 easy languages for English speakers : เก้าอันดับของภาษาที่'ง่ายที่สุดสำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ

เนื่องจากเพื่อนๆและครอบครัวถามกันมากว่าเรียนภาษาฟินนิชยากหรือไม่ อย่างไร จากประสบการณ์ที่เรียนมาบ้างแล้ว(และกำลังดำน้ำเรียนอยู่)นั้น ส่วนตัวคิดว่า"ภาษาฟินนิชยากมาก" แต่ไม่อยากพูดลอยๆเพราะเพื่อนอาจเข้าใจผิดว่าบัณทิตภาษาศาสตร์อย่างเราไม่มีน้ำยา ก็เลยลองหาบทความอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต จนมาเจอบทความจากบล็อค matador abroad (www.matadornetwork.com) ที่ว่าด้วยเก้าอันดับของภาษาที่ยากที่สุดสำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้ว(พูด-อ่าน-เขียนได้ ว่างั้นเถอะ) และแน่นอนที่ภาษาฟินนิชก็ติดโผด้วย แต่ก่อนอื่นอยากจะนำเสนอบทความที่ว่าด้วยเก้าอับดับภาษาที่ง่ายที่สุดก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้;

 9 easy languages for English speakers

By On February 17, 2011  

Anne Merritt lists 9 languages with similarities to English.
A SWEDISH FRIEND of mine speaks English and German with near-perfect fluency. “They’re easy to learn,” she insists with what I had believed to be sweet humility.

I had always assumed the Swedes were just good at everything, hence their omnipresence on North American hockey teams.
She firmly denied these superpowers. “English is a lot more like Swedish than you realize.”
English is a part of the Germanic family, and is linked to many European languages by descent or influence. It was also a big mooch in its formative years, with over 50% of its vocabulary stemming from Latin or French.
The result?
There are a lot of languages out there sharing common traits with English, which is great news when it comes to language study. When familiar structure or vocabulary is in place, the learning process becomes faster and easier. Hence my friend, the nonchalant polyglot.
Below are nine of the easiest for English speakers to learn, as classed by the Foreign Service Institute.
1. Afrikaans
Afrikaans and English both derive from the West Germanic language family. Phonetics and pronunciation are comfortable for English speakers; the one wee hurdle is the Afrikaans “g”, pronounced like the –ch in Bach.
Unlike English though, the Afrikaans language is not inflective. This means that with some memorized vocabulary, you can build sentences as you would a Lego tower, stacking words without worry of conjugation.
In Afrikaans, there is no conjugation of verbs (write, wrote, written), gender (think gato or gata in Spanish) or pronouns (my, mine; who, whose). In other words, you’ll hardly be a grammar slave if you take up this logical language.
2. Danish
As with most Scandinavian languages, the biggest hurdle with studying Danish is in being able to practice. English is spoken widely and fluently across northern European countries.
Danish is said to be the hardest Scandinavian language to learn because of its speaking patterns. It is generally spoken more quickly and more softly than other Scandinavian languages. Danish is also flatter and more monotonous than English.
Grammatically, though, it’s relatively easy. Danish has only nine verb forms, including the passive, which is peculiar to Scandinavian languages but familiar to English speakers. Danish has a lot of Germanic-based cognate vocabulary too: Monday Tuesday Wednesday, in Danish, are Mandag, Tirsdag, Onsdag.

3. French
Like all romance languages, French has a few difficulties for prospective speakers. There are more verb forms (17, compared to the English 12) and gendered nouns (le crayon, la table). Pronunciation is especially difficult in French, with vowel sounds and silent letters.
The bright side?
Like all Romance languages, French’s Latin derivations make much of the vocabulary familiar to English speakers (edifice, royal, village). Linguists debate the concrete number, but it’s said that French has influenced up to a third of English vocabulary, giving it more lexical common ground with English than any other romance language.
4. Italian
Another romance language, Italian has the great feature of readability. Italian is written as its spelled. For learners, reading comes fluidly once a few new phonemes are learned ( like –ghi- or –ci-).
Italian words tend to end in vowels, which makes for really fun, flowing speaking, as you might hear in Italians speaking English (“that’s-a my-a house-a”).
Grammatically, the language follows typical Romantic structure, with gendered nouns and similar word order. One perk: Italian has fewer verb forms than French or Spanish.
Italian is widely seen as the language of gastronomy. Many English speakers like to “study” by reading Italian restaurant menus and salivating.
5. Norwegian
The language is structurally similar to Danish, but with pronunciation more familiar to English speakers. Norwegian, like Swedish, uses a tonal “pitch accent” to distinguish homonyms, stressing either the first or second syllable of the word. It’s an easy concept to grasp: think “decent” and “descent” in English.
Verbs are a relative breeze in Norwegian, with no conjugation according to person or number. The past tense is formed with a simple –e suffix; the future is formed with the auxiliary vil; the conditional perfect with ville ha. The passive tense is formed by adding a simple –s. It’s a walk in the park compared to English.
6. Portuguese
Grammatically, Portuguese is similar to other Romance languages. There are fewer prepositions in Portuguese than in English (easy to remember!) However, their uses don’t always have direct parallels in English (easy to mix up).
One great element of the language is that interrogatives are beautifully easy, expressed by intonation alone (“You love me?”) If you can say it in Portuguese, you can ask it. What’s more, in Brazilian Portuguese, there’s one catchall question tag form: não é.
Pronunciation is fairly comfortable for English speakers, though the more nasal vowel sounds take some practice
7. Romanian
The geographic dark horse of the romance languages, Romanian is often assumed to be the most difficult of the bunch, with its Slavic influences. Not so fast.
They say that Romanian is the closest living language to Latin, and has preserved a lot of Latin’s grammatical structure. Articles are a bit of a puzzle in Romanian, with definite articles attached as a suffix to the end of nouns (frate/ fratele, brother/the brother), while indefinite articles appear before nouns (copil/un copil, child/a child).
Though the language has taken Slavic influences in its vocabulary, the language is still about 80% Latin-based, and full of cognates like sub (under) or obiect (object).
8. Spanish
Spanish pronunciation is fairly easy for English speakers, with only ten vowel/dipthong sounds (English has 20), and the easy-to-master letter ñ. Like Italian, the orthography is clear and simple; words are written as they’re pronounced, which makes reading easier. Grammatically, Spanish has fewer irregularities than other romance languages too.
A slippery element of the language (and all the Romances) is in false cognates: word pairings that sound the same as an English word, but mean something different. Particular means “private” in Spanish, and eventual means possible. See how that could get confusing?
Still, there’s no shortage of people in the world to help you fix these slip-ups. With 330 million native speakers, it’s the most popular language on this list.
9. Swedish
A fellow Germanic language, Swedish has some vocabulary common with English (mus for “mouse”, kung for “king”), and a similar syntax too.
Pronunciation may be a struggle at first, with nine vowels (like ö or å) and the sje- sound, which is unique to Swedish. Once you master it, though, the language is surprisingly melodic.
Students of the language gripe about the complicated grammar system, but the syntax shouldn’t be unfamiliar to an English speaker. In Swedish, the Subject-Verb-Object pattern is standard word order.
Also, verb formation uses many of the same patterns as English. The future tense, for example, is described with komma att + infinitive (will), or ska + infinitive (going to). Also, verbs are normally constant, even if the person changes. I am, you are, he/she is would be Jag är, du är, han/hon är.
Honorable Mention: Frisian
Never heard of it? It’s spoken by less than half a million people in the province of Friesland in the Netherlands. It wasn’t included on the list because Frisian is rarely studied as a second language, so finding a textbook or tutor outside the North Sea would be nigh impossible.
Linguistically it is the closest language to English, stemming from the same subfamily of West Germanic languages. There’s a catchy saying: “Good butter and good cheese” (Goed bûter en goed tsiis) is good English and good Fries. Phonetically, the phrases are almost identical. Uncanny.

วันศุกร์, พฤศจิกายน 25, 2554

Mid Fall Diary บันทึกกลางฤดูใบไม้ร่วงและประสบการณ์จากสระว่ายน้ำ

ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา นอกจากเรื่องเรียนแล้วกิจกรรมแต่ละวันของสองแม่ลูกก็ขึ้นอยู่กับฝนฟ้า อากาศ เช่นวันไหนฝนไม่ตกก็ต้องรีบปั่นจักรยานออกไปซุปเปอร์มาร์เก็ตซื้อของมาทำกับ ข้าว (ที่นี่จะไปไหน ถ้าไม่นั่งรถก็ต้องเดินหรือปั่นจักรยานไปเอง) หรือปล่อยลูกชายออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกบ้านด้วย แต่ถ้าฝนตกทั้งวันก็นั่งดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือ หรือวาดรูปในบ้าน ออกไปไหนไม่ได้เพราะนอกจากตัวเปียกแล้วอากาศยังเย็นมาก กลัวจะเป็นหวัด ถ้าสามีไม่มีเรียนก็จะขับรถพาพวกเราไปว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำในเมือง เสาร์-อาทิตย์ก็ซื้อของมาตุนไว้ทำกับข้าว และทุกอาทิตย์จะยืมหนังสือจากห้องสมุดมาอ่าน ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์คุณแม่สามีก็สอนทำกับข้าว อบขนม เป็นต้น



อยากเล่าประสบการณ์จากสระว่ายน้ำของเมืองว่า คนที่ไปว่ายน้ำมีตั้งแต่เด็กถึงแก่ สระที่นี่มีหลายขนาด และแยกออกเป็นหลายโซน น้ำในสระอุ่นสบาย เด็กที่มาก็มีตั้งแต่เริ่มเดินได้จนถึงรุ่นประถมจะเล่นในสระ เด็กทั้งหมดสามสระ มีเด็กหลายคนที่มาเพราะอยากเล่นสไลเดอร์ เป็นท่อสีเหลืองโค้งวนเวียนไปมา สนุกหวาดเสียวมาก แต่เจ้าลูกชายไม่ยอมเล่นเพราะกลัว ส่วนคนหนุ่มสาวจะว่ายที่สระใหญ่ คนสูงอายุที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่ว่ายน้ำแต่จะเดินในน้ำเพราะมีอุปกรณ์ช่วยเดินในน้ำเพื่อออก กำลังกาย(น้ำสูงระดับอก) และยังมีอีกสระหนึ่งที่ใช้เฉพาะชั่วโมงเรียนออกกำลังกายในน้ำ เช่นแอโรบิคในน้ำ ปั่นจักรยานในน้ำ เป็นต้นพอออกกำลังกายเสร็จคนส่วนใหญ่จะย้ายไปที่สระน้ำพุที่มีท่อให้น้ำพุ่ง ออกมานวดหลัง ไหล่ คอ ฝ่าเท้า เอวเพื่อผ่อนคลายร่างกาย จะยืนหรือนอนก็ได้ คุณสามีจะขับรถพามาว่ายน้ำอาทิตย์ละครั้ง ผู้ใหญ่จะต้องชำระเงินค่าบริการแต่เด็กใช้บริการฟรี ก่อนลงสระทุกคนจะต้องอาบน้ำสระผมให้สะอาด และเข้าไปอบซาวน่าก่อนจะสวมชุดว่ายน้ำลงสระ ห้องแต่งตัว ห้องซาวน่าและห้องอาบน้ำจะแยกหญิง-ชาย พอว่ายน้ำเสร็จก็ถอดชุดว่ายน้ำเพื่ออาบน้ำ สระผม และอบซาวน่าก่อนแต่งตัวกลับบ้าน ประสบการณ์ครั้งแรกทำเอาตกใจเพราะห้องอาบน้ำเป็นห้องเดียวหลายฝักบัว ก็เลยต้องโชว์โป๊กันทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคุณยายแก่ๆ แต่คนที่นี่ไม่มีเขินอายกันเลย คงจะชินกันไปแล้ว ครั้งต่อมาเราเองก็เริ่มชินเพราะถ้าทำอะไรแตกต่างไปอาจถูกเขม่นได้


สภาพ อากาศที่นี่เป็นกลางฤดูใบไม้ร่วง มีฝนเกือบทุกวันและอุณหภูมิต่ำ แม้แต่วันที่แดดออกอุณหภูมิยังต่ำกว่าสิบองศาเลย แต่ใบไม้เปลี่ยนสีสวยมาก มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง เขียวอ่อน น้ำตาลและก็ร่วงลงมาให้กวาดทุกวัน บนท้องฟ้าก็มีเมฆเต็มไปหมด เหมือนมันลอยมาจากที่อื่นมารวมกันที่นี่ วันไหนที่ฝนตกจึงไม่อยากออกนอกบ้านเลยเพราะทั้งหนาวทั้งชื้นไม่สบายตัวเลย แต่อากาศสะอาดสดชื่นเหนือคำบรรยายจนอยากอัดใสขวดแก้วส่งไปให้ครอบครัวที่เมืองไทย

ส่วน กับข้าวกับปลาที่นี่จะว่าทำง่ายก็ได้แต่รสชาติถ้าไม่จืด มัน เค็มก็เลี่ยนไปเลย ของส่วนใหญ่หาซื้อได้จากซุปเปอร์ มาร์เก็ต มีเนื้อ ปลา หมู และไก่ขายเป็นแพ็ค หมูกับปลาแซลมอนราคาแพงที่สุด ส่วนสะโพกไก่หมักราคาถูกที่สุด มีขายทั้งผักสดและผักที่หั่นรวมกันขายเป็นแพ็คแล้วแช่แข็งเพื่อสะดวกผัดหรือ ต้ม น้ำผลไม้และโยเกิร์ตมีขายเป็นลิตร ส่วนนมของที่นี่ราคาถูกมากประมาณลิตรละ 25-30 บาท ทุกคนที่บ้านเลยดื่มนมแทนน้ำซะเลย น้ำขวด(โค้ก สไปรท์ แฟนต้า)ของที่นี่หวานน้อยกว่าของบ้านเรา แต่ซ่ากว่ามาก ส่วนน้ำแร่จะมีฟองและรสชาติเหมือนน้ำโซดาเลย ถ้าเอามาผสมดื่มกับน้ำผลไม้ได้รสหวานๆซ่าๆ ช่วยขับลมในท้องและช่วยขับถ่ายได้ดี ช่วงนี้เลยต้องหาซื้อเครื่องปรุงใหม่มาทำอาหารไทยง่ายๆที่บ้าน อย่างเช่น ซอสหอยนางรม ซอสถั่วเหลือง รสดี ซอสผัดต่างๆ และกะทิ ส่วนพริกแกงทำมัสมั่นและพริกแดงที่เอามายังมีอยู่ เอาเครื่องปรุงมาพลิกแพลงทำกับของที่หาได้ รสชาติออกมาไม่เหมือนไทยแท้แต่ก็พอถูไถไปได้ให้หายคิดถึงอาหารที่บ้านไปได้ชั่วคราว

Residence permit ผ่านแล้วจ้า

หายไปนานสองเดือนเต็มและกลับมาพร้อมกับข่าวดี คือ residence permit ผ่านแล้ว ทีนี้ก็แค่ทำเรื่องเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านที่สำนักงานทะเบียนท้องที่(Maistraatti)พร้อมขอเลขประกันสังคมจากสำนักงานประกันสังคม(KELA) และขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานเพื่อขอสิทธิประโยชน์ช่วยเหลือผู้ว่างงานตามกฎหมาย พร้อมลงทะเบียนหางานเผื่อมีตำแหน่งงานให้ทำ ส่วนเจ้าตัวเล็กก็ต้องสมัครเข้าเรียนเตรียมความพร้อมที่สถานรับเลี้ยงเด็ก(Päiväkerhot)ใกล้บ้าน หวังว่าคงจะไม่ต้องรอนานเหมือนคราวที่ยื่นขอ residence permit นะ

ช่วงที่ผ่านมาระหว่างรอผลอยู่นั้นลูกชายยังไปโรงเรียนไม่ได้ แต่โชคดีที่ยังมีสถานรับดูแลเด็กของโบสถ์ใกล้บ้านที่รับดูแลเด็กอายุไม่เกินหกขวบ รับดูแลอาทิตย์ละ 2 วัน (จันทร์กับพฤหัสบดี) วันละสามชั่วโมง (9:00 – 12:00) เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวเข้ากับภาษาใหม่และเพื่อนใหม่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย วันแรกๆเราต้องไปกับลูกด้วยเพราะเค้ายังสื่อสารกับคนดูแลยังไม่ได้ เวลาเริ่มตั้งแต่เก้าโมงเช้าถ้าฝนไม่ตกครูก็จะปล่อยเด็กๆวิ่งเล่นออกกำลังกายข้างนอกตึก จากนั้นตอนสิบโมงพักทานอาหารว่าง(เด็กๆเตรียมไปเองเช่น แซนด์วิช โยเกิร์ต กล้วยหอม แอปเปิ้ล นม หรือน้ำผลไม้) แล้วเล่นของเล่นหรืออ่านหนังสือในห้อง พอใกล้เที่ยงจะรวมกลุ่มนั่งฟังนิทานและร้องเพลงเพื่อรอพ่อแม่มารับกลับบ้าน ลูกชายยังไม่คุ้นกับภาษาหรือเพื่อนใหม่ก็เลยชอบแยกออกไปเล่นคนเดียว ส่วนเด็กคนอื่นๆก็ยังไม่กล้าเล่นกับเค้า แต่ครั้งต่อๆไปเจอกับบ่อยขึ้นก็อาจคุ้นเคยและเล่นด้วยกันมากขึ้น สองอาทิตย์แรกที่เราไปกับลูกทำให้เค้าอุ่นใจและไม่กลัวเพื่อนใหม่ คุณครูก็ใจดีคอยมาชวนคุยและแปลกิจกรรมให้ฟัง ผ่านมาร่วมสองเดือนแล้วลูกกล้าเล่นกับเพื่อนมากขึ้น รวมทั้งมีเพื่อนซี้คอยจับคู่เป็นบัดดี้กันด้วย ทั้งที่ลูกยังพูดภาษาฟินนิชไม่ได้ ดังนั้นที่ว่ากันว่าเด็กๆนั้นพูดภาษาเดียวกันก็ท่าจะจริง

เราเองก็เรียนภาษาฟินนิชฟรีกับ “ริงกิ” เป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติที่ย้ายมาอยู่ฟินแลนด์ได้พบเจอ เรียนภาษาและทำกิจกรรมร่วมกัน มีตั้งแต่ทำอาหาร เย็บปัก เล่นเกมส์ เดินเล่นในเมือง ชมพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น คลาสเรียนภาษาอาทิตย์ละสองวัน(พุธกับศุกร์ 16:00 – 18:00) แถมได้หนังสือแบบเรียนไปฝึกเองที่บ้าน ทุกอย่างไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เพราะเป็นองค์กรที่รัฐบาลช่วยเหลือเพื่อให้ชาวต่างชาติไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและสามารถปรับตัวให้เข้ากับประเทศฟินแลนด์ได้ ผ่านมาร่วมสองเดือนแล้วไม่เคยขาดเรียนเลยครูบอกว่าเราค่อนข้างจะหัวไว เรียนเร็ว อาจเพราะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่แล้วแถมมีเวลาทบทวนที่บ้านมาก สมองเลยรับได้เยอะ แต่ยอมรับเลยว่าภาษาฟินนิชยากมาก เพื่อนใหม่ที่พูดหลายภาษาต่างบอกว่าภาษานี้ยากที่สุด แต่ถึงยากแค่ไหนก็ต้องเรียนเพราะอยากสื่อสารกับคนที่นี่และหางานทำให้ได้