วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 23, 2554

สำนวน : หมาๆแมวๆ

 สัตว์ที่มนุษย์ออกจะรักมากที่สุดเห็นจะเป็น หมา แต่สำนวนเกี่ยวกับหมามักจะไม่ค่อยน่าฟังเท่าใด เช่น เมื่อกิจการงานเจ๊งหรือขาดทุนย่อยยับ ตกอยู่ในภาวะไปไม่รอดก็จะพูดว่า go to the dogs หรือถ้าขี้โอ่ก็พูดว่า put on the dog

ในกรณีที่ถูกคนตามกวนอยู่ตลอดเวลา เช่น บ่นว่า ไอ้คนแปลกหน้าคนนั้นมันตามกวนเสียจริงๆ พูดว่า That fellow is still dogging us.

เมื่อใดที่ตกต่ำ ชีวิตหมดความหวัง โชคชะตาราศีตกอับ สำนวนที่ใช้กันคือ to lead a dog’s life

ถ้าผู้ชายคนใดถูกผู้หญิงต่อว่าหลังจากไปเดทกันมาพักหนึ่งแล้ว โดยพูดว่า That fellow is a real dog. เธอต้องการจะบอกว่า คุณไม่เอาไหนเสียเลย ปากไม่ว่า และมือไม่ถึงอีกด้วย

ถัดมาจากหมาก็เห็นจะเป็นแมวที่คนเราคุ้นที่สุด คำพูดที่ใช้กันอยู่ประจำ ก็คือ to lead a cat-and-dog-life คือคนที่อยู่ด้วยกันแล้วทะเลาะเบาะแว้งอยู่เรื่อยๆคล้ายๆชีวิตคู่ของสามีภรรยา

ครั้นตัดสินใจหย่าร้างกันยังทำไม่ได้ เลยต้องเล่นเอาล่อเอาเถิด หรือถ่วงเอาไว้ก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกกันว่า The wife plays cat and mouse with husband. จำใจต้องอยู่ด้วยกันไปก่อนโดยที่อนาคตยังไม่แน่นอน

ภาษิตโบราณที่ว่า คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก ฝรั่งบอกว่า A happy hut is better than a gloomy castle. ส่วน to have enough room to swing a cat round หมายถึง มีเนื้อที่แค่นิดเดียวไม่พอที่จะเหวี่ยงแมว ว่างั้น (เสนอให้แก้ไขโดย แฟนเพจนิรนาม ขอบคุณมากค่ะ)

การเผยความลับฝรั่งเรียกว่า let the cat out of the bag หมายถึง เผยไต๋หรือเผยความลับออกมา

ขอบคุณที่มา จากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541

วันพุธ, มิถุนายน 22, 2554

ขอโทษประเทศไทย

โฆษณาปลูกจิตสำนึกคนไทยที่ไม่สมควรโดนแบน ดูแล้วพูดได้คำเดียวว่า ...   ตรงใจ !!!

วันอังคาร, มิถุนายน 21, 2554

สำนวน : ขาวๆดำๆ



โดยปกติเรามักเทียบเคียงคำว่า ขาวกับดำ ในทำนองว่า ขาวเป็นสิ่งสะอาด บริสุทธิ์ ดำเป็นตัวแทนของความสกปรกและความทุกข์ อย่างไรก็ตามมีสำนวนที่เกี่ยวกับขาว-ดำ มากมาย ดังนี้

·         ขาว

As white as snow = ขาวเหมือนหิมะ

White coffee = กาแฟใส่นม

White elephant = ทุกขลาภ

White flag = โบกธงขาว, ยอมแพ้

White tie = ผูกโบ ไท หรือหูกระต่าย (แต่งสูทเต็มยศ)
เช่น Is it dinner jacket or white tie? = ใส่ชุดแจ็คเก็ตธรรมดาหรือต้องแต่งเต็มยศ

White collar = พวกที่ทำงานประจำในออฟฟิศ

White slave = ผู้หญิงที่ถูกล่อลวงไปเป็นโสเภณี

          White slave traffic = การค้าประเวณี

          Stark-white = ขาวจั๊วะ

          Staring white = ขาวโพลน

·         ดำ

As black as soot = ดำเหมือนฝุ่น

As black as coal = ดำเหมือนถ่าน

Black as pitch = ดำเป็นตอตะโก

Black-hearted = ใจดำ

Black coffee = กาแฟดำ

Black flag = ธงสลัด, ธงโบกให้ประหารชีวิตนักโทษ

Black shirt = เป็นสมาชิกพรรคเผด็จการฟาสซิสต์ของอิตาเลี่ยน

          Dressed in black = ไว้ทุกข์

Black cap = หมวกสีดำที่ผู้พิพากษาสวมก่อนตัดสินประหารชีวิตนักโทษ (สิ่งที่นักโทษกลัวที่สุด)

Black Death = กาฬโรค

Black mood = โกรธ, อารมณ์เสีย

Black day = วันแห่งความเศร้า, วันวิปโยค

Give somebody a black look = มองดูอย่างโกรธเคือง

Have something in black and white = เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

เกี่ยวกับเรื่องผิวและการรังเกียจผิวนั้น นักประพันธ์รางวัลโนเบลสาขาวรรณคดีชื่อ วิลเลี่ยม ฟอล์คเนอร์ กล่าวไว้อย่างคมคายว่า

" To live anywhere in the world today and be against equality because of race or color is like living in Alaska and be against snow. "

" การดำรงชีวิตอยู่ในที่ใดก็ตามในโลกทุกวันนี้โดยที่ต่อต้านความเสมอภาคเพราะปัญหาเชื้อชาติและสีผิว ก็เหมือนกับการอยู่ในอลาสก้าแต่เป็นปฏิปักษ์ต่อหิมะนั่นเอง "


ขอบคุณที่มา จากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541

วันอาทิตย์, มิถุนายน 19, 2554

♫ I wanna love you tender

Finnish classic disco fun ^^


My boyfriend says the male singer is a ladies man even now in his 50's. But it's not the singers I care ...the dancers in this video are more fun to look at. =)

เป็นมิวสิควิดีโอที่ดูเพลินมากค่ะ จ้างมาสิบเต้นให้เป็นร้อยเป็นพัน แถมไม่พร้อมเพรียงกันอีกต่างหาก ใครนะออกแบบท่าเต้นและคอสตูมให้แดนเซอร์ อยากรู้จริงๆ 




I love you, I wanna love you tender.
You could be my only sweet surrender.
I would never bring you any kind of sorrow.

You love me, you wanna love me tender.

How can I be sure you're not pretender?
You want me today,
But what about tomorrow?

Oh, you're absolutely fine,

Your lips are taste of wine.
I'd like to think you're mine.
And if I could touch your hand,
This rock would turn to sand,
So this is where we stand.

You love me, you wanna love me tender.

How can I be sure you're not pretender?
You want me today,
But what about tomorrow?

I love you, I wanna love you tender.

I just want to be your loving fender.
I would like to take you;
I know I can't deceive you.

I love you, I do can be so tender.

I can be your only sweet surrender,
And if you give your heart,
I'll never ever leave you.

Oh, you're absolutely fine,

Your lips are taste of wine.
I'd like to think you're mine.
And if I could touch your hand,
This rock would turn to sand,
So this is where we stand.

If we all say 'Wanna love you tender,"

No-one has to be a great pretender.
And this world would be
A better place to live in.

วันเสาร์, มิถุนายน 18, 2554

What Accounts for Finland's High Student Achievement Rate? | Asia Society


WASHINGTON, April 27, 2010 — A former Finnish education minister once joked that Finland's education goal is a modest and simple one: to be better than Sweden. In the twenty years since, Finland has achieved an arguably greater accomplishment: it has the top-ranked school system in the world (PISA survey, conducted by OECD).
The top ranking is more than a great honor. Among OECD's findings is a direct correlation between countries whose students rank highly, and the country's future economic prosperity. Understandably, other countries want to learn from Finland. How did they become the highest-performing nation?
It is helpful first to understand the qualities of a high-performing nation. Finland can boast a high graduation rate, equal education access among students, high achievement on international benchmarking tests, and moderate per-pupil spending.
Sound like a dream? That's how it started, if you ask Pasi Sahlberg, the director general of the Center for International Mobility and Cooperation in Finland. "The 'Finnish dream' is education for all," regardless of nationality, ethnicity, or economic status.
Sahlberg explained that it is a long-held ideal. The first law that paved the way for equity in education came in 1860. It simply stated that the same education should be offered to every student. In 1915, education was recognized as a civil right. A full century of reforms later, K-8 education was made compulsory, and some thirty years after that, high school education, too, was mandatory. 
Along the way, two interesting things happened. The first is Finnish citizens held teachers and school principals in the highest esteem. Those who graduate at the top of their class are the only ones who can consider a career in education. It is the most competitive field, more so than medicine and law. The average acceptance rate into schools of education is a mere 10%.
The second thing happened in the 1980s: Finland abolished standardized tests. Instead of test-based accountability in schools, the country—because of the high quality of its teaching force—had a trust-based system to allow teachers a certain freedom to teach with creativity. Students, too, had autonomy to learn in different ways.
What is at first surprising is the fact that students in Finland cumulatively have two to three years' fewer instructional hours compared to American students. Whereas a teacher in Finland teaches three lessons per day on average, American educators teach seven. Sahlberg argued that fewer teaching hours means more time for educators to create interesting lessons, to apply authentic assessments, and grant students liberal time to work on their studies and projects. 
But is it replicable? Finland has a relatively small population. Its reforms took 130 years to realize. For most other nations to revere the teaching profession at scale would be a monumental task that could plausibly take a century, not to mention very high costs and other hurdles. On the other hand, is it as simple as a reminder of what many already know: that education is a society's greatest investment and that good educators should be compensated accordingly? Will the rest fall into place, as it did in Finland? 
Pasi Sahlberg is director general at the Center for International Mobility and Cooperation in Finland. His remarks were part of the Learning with the World conference, organized by Asia Society and the Council of Chief State School Officers.



Source : What Accounts for Finland's High Student Achievement Rate? | Asia Society

วันพุธ, มิถุนายน 15, 2554

Airbus Cabin of the Future

แบบจำลองเครื่องบินในอนาคตอีก 40 ปีข้างหน้า ซึ่งแอร์บัสเปิดตัวแนวคิดเครื่องบินอนาคต ปีค.ศ. 2050 ที่มีผนังแบบใสสามารถมองเห็นภายนอกได้ และสามรถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแสงด้วย อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้โดยสารจะได้สันทนาการโดยใช้ความร้อนจากร่างกาย

When Airbus paints a picture of the future of aviation, the company has a knack for inspiring dreams and visions of happier hours spent in cruise. When the A3XX was born, ideas were plentiful of all the amenities that might await the traveling public.

Well, Airbus is at it again. Having already unveiled its concept airplane last year, it now is imagining what passengers may experience on that futuristic air transport. As is so often the case, the aircraft makers wants to steal a page from the cruise ship industry, hoping travelers will relish the experience for itself, rather than being only focused on getting from point A to point B. Or, if they are, at least they will travel with a sense of purpose.

Who could resist the appeal of cruise ships? One can have luggage delivered to the cabin, play virtual golf, call home to read the kids a bed time story, dial into a WebEx, breathe in enriched air while enjoying panoramic views. 

With that inspiration in mind, Airbus has released details of what it calls its Concept Cabin  - "a flying experience inspired by nature." Airbus says that by 2050, passengers will be able to experience in-seat "mood lighting, aroma therapy and acupressure treatments.” Or for passengers want some social interaction, the center zone will offer a 'virtual pop up projection' that transforms from holographic gaming to 'virtual changing rooms for shoppers'. 
Watch the video and see for yourself. I think the only thing missing is a hot tub…







สำนวน : จมูก / nose

คำว่า nose นอกจากเป็นคำนาม แปลว่า จมูกแล้ว ยังใช้เป็นกริยาก็ได้ เช่น

That man will nose out a crime anywhere. = หมอนั่นมันจมูกไวสืบรู้เรื่องอาชญากรรมที่ไหนก็ได้

คำว่า nose ใช้เป็น idiom ได้หลายอย่าง เช่น

Pay through the nose = จ่ายราคาแพงขาดใจ

These things are right under my very nose. = เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นตำตาฉันนี่เอง

Keep one’s nose to the grindstone = พยายามฝนทั่งให้เป็นเข็ม

Bite his nose off = เกรี้ยวกราดเอากับเขา

To be as plain as the nose on your face = ชัดแจ้งแดงแจ๋, แจ่มแจ้งเหมือนตะวันบนท้องฟ้า

His friend always leads him by the nose = เพื่อนฝูงของเขาจูงเขาดังหนึ่งสนตะพายอยู่ร่ำไป

Follow one’s nose = เดินตรงดิ่งไปข้างหน้า


ขอบคุณที่มา จากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541

วันอังคาร, มิถุนายน 14, 2554

แผนที่รูปแบบต่างๆของประเทศฟินแลนด์ : Finland Maps

แผนที่แสดงที่ตั้งของเมืองใหญ่ๆในฟินแลนด์ / Map of Big Cities in Finland

แผนที่แสดงการแบ่งเขตพื้นที่การปกครอง / Finland Political Map

แผนที่พร้อมภาพประกอบ / Illustrated Map of Finland

แผนที่แสดงลักษณะทั่วไปของฟินแลนด์ / General Map of Finland

สำนวน : ค่าตอบแทนจากการทำงาน (3)

Fee หมายถึงค่าธรรมเนียม ค่าบริการทางด้านวิชาชีพ ค่าบริการทางวิชาการ เช่น

medical fee = ค่าบริการทางการแพทย์
tuition’s fee = ค่าเล่าเรียน
lawyer’s fee = ค่าตอบแทนสำหรับทนายความ
consultant’s fee = ค่าตอบแทนสำหรับที่ปรึกษา
registration fee = ค่าลงทะเบียน
entrance fee = ค่าเข้าไปในสถานที่

Payment (‘เพเม็นท) หมายถึง เงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้างค่าตอบแทน Did you get any payment from the social security office? คุณได้รับเงินที่จ่ายจากสำนักงานประกันสังคมหรือเปล่า?

ผู้เขียนเคยตามผู้ใหญ่ไปเป็นที่ปรึกษาโครงการใหญ่ระดับทวีป พองานเสร็จ บริษัทจีนที่ว่าจ้างก็ออกลายทันที ด้วยการบอกว่า คุณกลับประเทศไทยก่อนเถอะ We’ll put your payment in your account. เราจะจ่ายเงินค่าจ้างลงไปในบัญชีของคุณ ถ้าเจอใครพูดจาอย่างนี้ ก็ขอให้คุณทำใจไว้ได้เลย ว่าโดนเบี้ยวแน่ จนบัดนี้ 5 ปีแล้ว ยังไม่เห็นเงินจากงานนั้นซักหยวนเดียว

ไปซื้อของที่ไหน แต่สตางค์ไม่พอ คุณกลัวว่าจะมีคนอื่นซื้อเอาไปซะก่อน จึงจำเป็นจะต้องจ่ายเงินมัดจำ เงินมัดจำนี่แหละที่ฝรั่งเรียกว่า down payment

อีกคำหนึ่งที่อยากฝากไว้ในที่นี้ ก็คือ income (อินคัม) อันนี้หมายถึง รายได้จากการทำงาน หรือทำธุรกิจ คุณผู้อ่านท่านคงเคยได้ยินคำว่า ภาษีเงินได้ อันนี้ก็คือ income tax เด็กดัตช์คนหนึ่งคุยโตคุยโม้ถึงพ่อของตัวเองว่า My father works in a German company and earns high income. พ่อของผมทำงานอยู่ในบริษัทเยอรมันและมีรายได้สูงมาก


ขอบคุณที่มา : คอลัมน์เปิดฟ้าภาษาโลก ไทยรัฐออนไลน์ โดย คุณนิติ นวรัตน์
วันที่ : 11 มิถุนายน 2554
http://www.thairath.co.th/column/edu/openlang/178457

วันจันทร์, มิถุนายน 13, 2554

สำนวน : ค่าตอบแทนจากการทำงาน (2)

ร้านเครื่องดื่มในประเทศเนเธอร์แลนด์มักจะยกโต๊ะเก้าอี้ออกมาวางไว้ริมทางเดินในตอนเช้ากับตอนบ่าย ผู้เขียนเคยไปรับจ้างทำงานประเภทนี้เหมือนกัน I was paid a minimum wage. ผู้เขียนได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนนายธีโอนิอุส เพื่อนที่มาจากกรุงวิลเลมสตัด ดินแดนเนเธอร์แลนด์แอนมิลลิส อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ มีฝีมือมาก รับจ้างเป็นช่างทาสี ได้ค่าแรงสัปดาห์ละ 1,200 ยูโร = Thelonius earns a weekly wage of 1,200 euros.

Salaryแซลอะริ อันนี้คือเงินเดือน เมื่อทำเป็นพหูพจน์จะต้องเขียนเป็น salaries เป็นเงินค่าจ้างรายเดือนก็ได้ รายปีก็ดี ในการเขียนจดหมายสมัครงาน คุณต้องเขียนถึงเรื่องเงินเดือนที่คุณอยากได้ หากไม่รู้ว่าทางโน้นจะจ่ายเงินเดือนที่คุณเรียกไปได้หรือเปล่า คุณก็ควรจะเขียนตอนท้ายตบไปเสียหน่อยว่า The offered salary is negotiable. = เงินเดือนที่เสนอมานี้สามารถต่อรองกันได้

เงินเดือนของฝรั่งส่วนใหญ่จะแจ้งเป็นรายปี แต่เวลาจ่าย จ่ายเป็นรายเดือน an annual salary of $50,000 = เงินเดือนปีละ 50,000 ดอลลาร์

อาจารย์ท่านหนึ่งเบื่อฝรั่งเศส จึงเปลี่ยนงานการสอนจากฝรั่งเศสมาสอนที่เนเธอร์แลนด์ ทั้งๆที่เงินเดือนลดลงก็เอา = That professor took a drop in salary when he moved from France to the Netherlands.

He took a drop salary. = He accepted a lower salary. = ท่านยอมรับเงินเดือนที่น้อยกว่า/ต่ำกว่า


ขอบคุณที่มา : คอลัมน์เปิดฟ้าภาษาโลก ไทยรัฐออนไลน์ โดย คุณนิติ นวรัตน์
วันที่ : 11 มิถุนายน 2554
http://www.thairath.co.th/column/edu/openlang/177983

วันอาทิตย์, มิถุนายน 12, 2554

When this boy grows up, he'll be HOT ♥

เด็กคนนี้โตขึ้นคงเนื้อหอมสุดๆ ♥ When this boy grows up, he'll be HOT !!!





More of Tanner's dance on Ellen. No doubt he will get all the girls in 10 - 20 years from now ♥


สำนวน : ค่าตอบแทนจากการทำงาน (1)

เพื่อนฝรั่งถามผู้เขียนว่า เป็นนักเขียนน่ะได้รับค่าตอบแทนยังไงเป็น salary หรือเป็น wage? โดนคำถามแบบนี้ทำให้ผู้เขียนนึกขึ้นมาได้ว่า หลายคนคงสับสนเหมือนที่ผู้เขียนเป็นในสมัยก่อนเหมือนกันว่าอะไรคือ pay, salary, fee, payment และ income

Pay เป็นคำกลางๆของค่าตอบแทนจากการทำงาน ดูจากคำถามที่เพื่อนถามข้างบนที่ผู้ถามยังไม่รู้ว่าผู้เขียนได้รับค่าตอบแทนแบบไหน? เพื่อนก้ยิงคำถามโดยใช้คำว่า pay ซึ่งเป็นคำกลางๆไว้ก่อน

Pay is a general word which means the money that you receive for working. “เพ” เป็นคำทั่วไปซึ่งหมายถึงเงินที่คุณได้รับจากการทำงาน เพื่อนจึงถามต่อว่าในเมืองไทยแพทย์กับครู ใครได้ค่าตอบแทนมากกว่ากัน? ผู้เขียนบอกว่า ไม่ต้องถามเฉพาะในเมืองไทยหรอก ทั่วโลกเป็นเหมือนกันหมด Doctors usually get more pay than teachers. โดยปกติแพทย์ได้รับค่าจ้างมากกว่าครูอยู่แล้ว

คำแปลของ pay น่าจะเป็น “ค่าตอบแทนจากการทำงาน”

ส่วน wage นั้น "เวจ" เป็น “ค่าจ้างแรงงาน” ที่จ่ายเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ และมักจะจ่ายเป็นเงินสด


A wage is an amount of money you receive each day or week. It is often paid in cash. 

พรรคการเมืองไทยพรรคหนึ่ง บอกว่าจะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานไทยให้อยู่ที่วันละ 300 บาท อีกพรรคหนึ่งบอกว่า จะกำหนดให้เป็น 350 บาทต่อวัน ค่าแรงขั้นต่ำนี่ละคือ a minimum wage

ขอบคุณที่มา : คอลัมน์เปิดฟ้าภาษาโลก ไทยรัฐออนไลน์ โดย คุณนิติ นวรัตน์
วันที่ : 10 มิถุนายน 2554
http://www.thairath.co.th/column/edu/openlang/177731

วันเสาร์, มิถุนายน 11, 2554

สำนวน : สนุก

ฝรั่งนักเขียนที่อยู่เมืองไทยกันนานๆมักสรุปเอาดื้อๆว่าอุปนิสัยของคนไทยอธิบายได้ง่ายๆด้วยคำๆเดียวว่า สนุก แม้แต่งานศพยังมีการละเล่นเหมือนงานมหรสพประเภทหนึ่ง นิสันรักสนุก พูดจาขำขันของคนไทยเป็นที่ยอมรับกันว่าแม้ใน หนังสือจดหมายเหตุ ของ ลาร์ลูแบร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็เคยกล่าวไว้เช่นนั้น

คำว่า สนุก ในภาษาไทยดูจะเป็นตัวแทนหรือกระจกเงาที่สะท้อนชีวิตในสังคมไทยว่า แม้เมื่อทุกข์อยู่ก็ยังสนุกกับชีวิต (คงหมายถึงหน้าชื่นอกตรมด้วย) คำที่เด็กๆเรียนรู้ เมื่อหัดพูดได้ใหม่ๆนอกจากคำว่า พ่อแม่แล้ว ก็เห็นจะเป็นคำว่า “สนุก” หรือ “หนุกจัง”

คำว่า สนุก นี้ ในภาษาไทยออกจะมีความหมายกว้างขวางจนำให้ชาวต่างประเทศที่ร่ำเรียนภาษาไทยอาจรู้สึกงงๆ เช่น บอกว่า หนังสนุก ละครสนุก หนังสืออ่านสนุก ไปเที่ยวกันสนุกมาก เห็นคนเหยียบกล้วยแล้วหกล้ม ก็บอกว่าสนุกดี นอกจากนี้ ยังมีคำว่า รักสนุก ชอบสนุก สนุกสนาน สนุกสุดเหวี่ยง สนุกเป็นบ้าเป็นหลัง ฯลฯ

เมื่อลิงพิจารณาความหมายของคำว่า สนุก  ในกรณีต่างๆก็เห็นจะต้องบ่งถึงความเพลิดเพลินหรือเบิกบานใจ ในกรณีที่เป็นคนรักสนุก ดีแต่เที่ยวตะลอนๆหาความเพลินเพลินอยู่เรื่อยๆ คนที่ทำเช่นนี้เรียกกันว่า a gad-about หรือ a run-about มักหมายถึง เด็กไม่เอาถ่าน ไม่ดูหนังสือหนังหา เอาแต่เที่ยวท่าเดียว หรือ ชอบโต๋เต๋ถือว่าอยู่ในวัยสนุก หรือ fun age

แต่ถ้าเป็นคุณหญิงคุณนาย(ที่ไม่เอาไหนเหมือนกัน) ชอบสนุกเพลิดเพลินกับการไปเตร่ซื้อของที่ฮ่องกง เกาหลี หรือสิงคโปร์ ก็พูดว่า to be on a shopping spree คล้ายๆกับสนุกเพื่ออวดมั่งอวดมี ซึ่งฝรั่งเรียกว่า make a splurge

ส่วนบรรดานักสนุกที่เป็นผู้ชายชอบเที่ยวหัวราน้ำ ส่งเสียงเอะอะเอ็ดตะโรก็พูดว่า to paint the town red หมายถึง สนุกชนิดหัวหกก้นขวิด แต่ถ้าไปสนุกกับผู้หญิงยิงเรือก็ว่า to go wenching

ใครที่มีชีวิตที่สนุก สบายประเภทนั่งกินนอนกิน ถือกันว่า เกิดมามีแต่สนุกสบาย ภาษาอังกฤษใช้สำนวนว่า high liver หมายถึง คนที่ใช้จ่ายได้อย่างสบายๆไม่ต้องวิตกกังวลว่าต้นเดือนจะชนปลายเดือนหรือไม่ จะพูดว่าพอเกิดมาก็มีบุญหล่นทับก็คงได้

คำอีกคำหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสนุกหฤหรรษ์ คือ pleasure คนชอบหาอะไรที่สนุกเพลิดเพลินเรียกว่า pleasure seeker ยุคของคนประเภทนี้เลยพูดกันว่าเป็น pleasure seeking age ถือได้ว่า His life is given to pleasure.แปลว่า เขาเกิดมาเพื่อมีชีวิตหาความสุขล้วนๆ

ส่วน pleasures (เติม s ต่อท้ายและเป็นพหูพจน์) แปลว่า สิ่งอำนวยความเพลิดเพลิน ใครที่ไม่ปฏิเสธสิ่งนี้เช่น เมื่อเอาของมาให้ก็จะรับด้วยความเต็มใจหรือคล้ายๆสำนวนไทย ทำนองตักบาตรอย่าถามพระนั้น ฝรั่งพูดกันว่า

We needn’t consult his pleasures.

ความสนุกสนานมีได้หลายทางตามแต่ความพอใจของแต่ละคน ใครที่อ่าน “เปรียว” แล้วเห็นว่าสนุก ก็อาจกล่าวเป็นภาษาฝรั่งได้ว่า Reading “Preaw” is my favourite diversions.

อีกสำนวนหนึ่งที่ใช้กันบ่อย คือ Did you have a good time? แปลว่า สนุกไหม มันส์ไหม ใช้ได้ตั้งแต่เรื่องเที่ยวเตร่เรื่อยไปจนถึงความสุขสุดขีดบนเตียง จะตอบว่า Yes darling, you are great. แปลว่า จ้ะที่รัก คุณแน่จริงๆ ก็ได้นะ

ส่วนการเล่นสนุกขำขันประเภทแผลงๆแบบเด็กๆใช้คำว่า fun and games ใครที่เป็นตัวสนุกสนานสร้างเสียงหัวเราะจากบุคคลรอบข้างก็พูดว่า He’s full of fun. หรือ He’s a great fun.

ส่วนคนแก่ที่ใจยังอยากสนุกแต่สังขารไม่ไหว ขนาดเตะปี๊ปไม่ดังอีกต่อไป จะเป็นเฒ่าหัวงูก็ไม่ได้ อย่างมากก็แค่มีใจกระหวัดรัดรึง มักจะพูดกันว่า The spirit is willing but the flesh is weak. = หัวใจนั้นปรารถนาแต่สังขารไม่อำนวย หรือใจยังหนุ่มแต่กายมันเหี่ยว

สำหรับคนที่สนุกในหมู่คนที่สนุก ขรึมในหมู่คนขรึม แต่ยิ่งใหญ่ในบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านว่าเป็นอัจฉริยะบุคคล สำนวนดั้งเดิมเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ Marcel Proust ได้กล่าวไว้ว่า

Genius is one who is gay among the gay, grave among the grave and great among the great.

อย่างไรก็ตาม คาถาศักดิ์สิทธิ์สำหรับคนที่อยากไร้ทุกข์ดูจะมีอยู่สถานเดียว นั่นก็คือ Do whatever you please! แปลว่า ใครใคร่สนุก สนุกเถิด!


ขอบคุณที่มา จากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541

วันศุกร์, มิถุนายน 10, 2554

สำนวน : นักเลง

เรื่องนักเลงนี้ฝรั่งกับไทยบางทีก็มองกันไปคนละทาง นักเลงไทยบางทีก็ไม่ได้หมายถึง พวกเกะกะระรานเสมอไป เมื่อพูดว่าใครคนหนึ่งมีใจนักเลง กลับแปลว่าเป็นคนใจป้ำหรือใจสปอร์ต ถ้าพูดว่านักเลงหัวไม้ก็หมายถึง ชอบยกพวกตีกันหรือชอบก่อกวนชาวบ้าน

กุ๊ย กับ นักเลง ในภาษาไทยออกจะมีเงาของความหมายต่างกันบ้าง อย่างน้อยคำหลังก็ฟังดูดีกว่าคำแรก กุ๊ย ดูจะไม่สุภาพ หมายถึง คนที่ชอบก่อกวน ข่มขู่ หรือมีกิริยามารยาทไม่เรียบน้อย แต่นักเลงในความหมายกว้างๆ อาจเป็นคนเรียบร้อยได้เช่น พูดว่า เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นนักเลงกลอนและนักเลงหนังสือ สุนทรภู่ ก็เรียกตัวเองว่า “เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร”

นักเลงของฝรั่งนั้นเขาทำกันเป็นอาชีพแบบเป็นล่ำเป็นสัน บางทีก็รวมหัวกันแบบแก๊งมาเฟีย ถ้าขัดผลประโยชน์กันเมื่อใด จะยกพวกตีกันอย่างที่เรียกว่า Gang fight

นักเลงที่รับจ้างไล่ยิงคนเรียกว่า thug หมายถึง กุ๊ยก็ได้ และก็เป็นกุ๊ยชั้นต่ำด้วย บางประเภทประพฤติตนแบบโจร ข่มขู่เอาเงินจากร้านหรือกิจการต่างๆ มีหน้าที่รีดไถพ่อค้าหรือต้มตุ๋นชาวบ้าน ประเภทนี้เรียกกันว่า racketeer และกิจกรรมเช่นนี้คือ racket มีลักษณะคล้ายๆพวก gangster อย่างที่เห็นกันในหนัง

นักเลงที่ไม่ตีหัวคนอื่น แต่ทำคุยโม้ประสานักเลง เช่น คุยฟุ้งทำนองจะไปรังแกคนอื่น เรียกกันว่า fanfaron ถือว่า เป็นนักเลงแต่ปาก หรือหมาเห่าใบตองแห้ง แบบเดียวกับที่คำพังเพยฝรั่งชอบพูดว่า His bark is worse than his bite. ประเภทนี้บางทีก็พูดว่า fire-eating แปลว่า คนชอบด่าทอทะเลาะวิวาทกับคนอื่น

นักเลงบางจำพวกพอสบตาคนอื่นเห็นว่าไม่กินเส้น หรือผิดสีผิดกลิ่นมักจะยกพวกตีกัน เรียกว่า gangster นอกจากนี้ยังหมายถึงกลุ่มโจรได้อีกด้วย เช่น

The phone box was vandalized by a gang of youths. = ตู้โทรศัพท์ถูกพวกแก๊งค์วัยรุ่นทำลายยับ (vandalize แปลว่า ทำให้เสียหาย)


บาร์และไนต์คลับบางแห่งต้องใช้วิธีเลี้ยงโจรไปสู้กับโจร เวลาถูกคนอื่นเข้ามารีดไถ เทาอาละวาดและก่อกวน พวกเจ้าของบาร์จะจ้างนักเลงตัวโตๆคอยคุมความสงบเรียบร้อย ใครขืนอาละวาดเป็นโดนใช้กำลังบังคับออกจากร้าน

นักเลงอย่างนี้ทำเป็นอาชีพประจำ เรียกว่าพวก bouncer ส่วนพวกที่เอะอะมะเทิ่งชอบวิวาทในโรงเหล้าชนิดที่ต้องให้ bouncer จัดการคือพวก heckler และพวก rowdy จะแปลว่า คนพาลก็ได้

แต่พวกนี้ไม่ถึงขั้นคุมถิ่นหรือคุมซ่อง พวกที่มีอาณาจักรของตัวเอง ปกครอง รีดไถ และอาละวาดได้ถือเป็นพวกมาชีพ ขนาดตำรวจยังแหยง เรียกว่า Yahoo บางทีก็เรียกว่า hoodlum และ hooligan เช่น

Acts of vandalism committed by football hooligans. = การกระทำแบบรุนแรงป่าเถื่อนนั้นพวกอันธพาลฟุตบอลทำขึ้น

แต่ถ้าเป็นเจ้าพ่อระดับ ก็อดฟาเธอร์ ซ่องสุมผู้คนเอาไว้ข่มขู่ผู้อื่น ใช้คำว่า cock of the walk แปลว่า เจ้าถิ่น หรือนักเลงโต เจ้าถิ่นต้องขุนพวก tough หรือ rough-neck เอาไว้หลายๆคนเพื่อใช้งาน มีหน้าที่รับจ้างตีหัวชาวบ้านที่ขัดผลประโยชน์ของเจ้าถิ่น จะเรียกว่าเป็นพวกอันธพาลก็ได้

ส่วนคนที่เป็นนักเลงระดับชาติแถมมีกำลังหนุนจากนอกประเทศเขาไม่เรียกว่านักเลง แต่สื่อสิ่งพิมพ์ชอบใช้คำว่า terrorist หรือ ผู้ก่อการร้าย มักใช้อาวุธหนักชนิดที่ตำรวจเองก็ไม่มีใช้ และบางทีต้องส่งทหารออกปราบด้วยอาวุธสงคราม

ส่วนนักเลงรุ่นจิ๋ว เช่น เด็กโตที่ชอบรังแกเด็กอายุต่ำกว่า พูดว่า bully เข้าทำนองชอบข่มเหงน้ำใจคนที่เสียเปรียบกว่า


ขอบคุณที่มา จากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541